“กุุ้งก้ามกรามบางแพ” หรือ Bang Phae Giant Freshwater Prawn หรือ Kung Kam Kram Bang Phae หมายถึง กุ้งก้ามกรามที่มีเปลือกสีน้ำเงินมันเงา ก้ามสีน้ำเงินหรือสีครามปนสีทอง เนื้อแน่นเต็มเปลือก เมื่อปรุงสุกจะมีรสชาติหวาน มันกุ้งมาก และไม่มีกลิ่นคาว กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI)” กุ้งก้ามกรามบางแพ” เมื่อ 11 พ.ศ. 2566
สำหรับพื้นที่เลี้ยง”กุ้งก้ามกรามบางแพ” จะครอบคลุมอำเภอบางแพ อำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอโพธารามของจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ลักษณะเป็นดินเหนียวสีเทาเข้มถึงสีดำที่มีเนื้อละเอียดถึงละเอียดมาก เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำจืด น้ำทะเล และน้ำกร่อย รวมถึงบางส่วนเกิดจากตะกอนน้ำพัดพา จึงมีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและจุลินทรีย์สูง และด้วยลักษณะอากาศที่เย็น ไม่ร้อนจัด ไม่หนาวจัด จึงทำให้พื้นที่เหมาะแก่การเลี้ยง”กุ้งก้ามกรามบางแพ”เป็นอย่างยิ่ง โดยในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งได้ขนานนามให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเมืองหลวงของการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ทั้งนี้ในปัจจุบันมีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามบางแพกว่า 1,122 ราย สามารถสร้างรายได้เฉลี่ยกว่า 2,569 ล้านบาทต่อปี ซึ่งแสดงถึงความสําเร็จของการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามบางแพ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพของผลผลิต
กระบวนการผลิต
วัตถุดิบ
“กุ้งก้ามกรามบางแพ” ใช้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงอยู่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย เช่น ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น หรือนำพันธุ์มาจากต่างประเทศ เช่น ประเทศเมียนมาร์ และประเทศอินเดีย เป็นต้น โดยคัดพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ก้งก้ามกรามที่มีลักษณะที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์ ปราดเปรียว ลำตัวใส และแยกบ่อเลี้ยงระหว่างเพศผู้และเพศเมีย
การเตรียมบ่อเลี้ยง
(1) บ่อเลี้ยงกุ้งควรเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปนเหนียว ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้ดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีคุณภาพดี สะอาด รวมทั้งมีปริมาณน้ำมากเพียงพอตลอดปี รูปทรงของบ่อที่เหมาะสมควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพื่อความสะดวกในการจัดการและการจับผลผลิต มีความลึกที่เหมาะสมประมาณ 1 – 2 เมตร เมืองจากบ่อที่ตื่นจะทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงเกินไปในฤดูร้อน
2) สูบน้ำออกจากบ่อและตากบ่อให้แห้งเพื่อกำจัดศัตรูกุ้ง แล้วจึงเปิดน้ำลงบ่อโดยกรองด้วยผ้าหรือถุงกรองเพื่อป้องกันศัตรูกุ้งที่ปนมากับน้ำโดยเฉพาะไข่และตัวอ่อนของปลา กรณีน้ำจากแหล่งน้ำที่ใช้มีคุณภาพดีสามารถสูบน้ำเข้าบ่อได้โดยตรง หลังจากนั้นควรพักน้ำไว้ 3 – 5 วัน โดยระหว่างการเตรียมน้ำต้องเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้ใบพัดตีน้ำช่วงเวลากลางวัน จะช่วยปรับสภาพน้ำให้เข้าสู่ภาวะสมดุลแล้วจึงปล่อยกุ้งลงบ่อเลี้ยง หรืออาจหว่านปลาปันผสมรำละเอียดละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วหรือใช้ฟางข้าวหมักเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอน ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ เป็นต้น โดยสังเกตน้ำให้มีสีชาหรือน้ำตาลอมเขียว หรือเกษตรกรกรอาจใช้พืช “ธูปฤาษี” หมักกับดินในบ่อกุ้งเพื่อปรับสภาพน้ำให้มีสีชาหรือสีน้ำตาลอมเขียวก่อนปล่อยกุ้ง 1 – 2 วัน
(3) ก่อนนำลูกกุ้งมาปล่อยควรเปิดเครื่องให้อากาศ เพื่อเพิ่มออกซิเจนและทำให้อุณหภูมิของน้ำในบ่อเท่ากันทุกระดับและเติมเกลือแกงลงไปในบริเวณที่จะนำลูกกุ้งมาปล่อยเพื่อเพิ่มอัตราการรอดของลูกกุ้ง
การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม
การปล่อยกุ้งก้ามกรามลงบ่อ เวลาที่เหมาะสมควรปล่อยในเวลาเช้ามืดหรือเย็น โดยนำภาชนะที่บรรจุพันธุ์กุ้งมาแช่ในบ่อเพื่อปรับอุณหภูมิของน้ำในภาชนะให้เท่ากันกับน้ำในบ่อ โดยใช้เวลาประมาณ15 – 20 นาที จากนั้นตักน้ำในบ่อผสมกับน้ำในภาชนะก่อนปล่อยพันธุ์กุ้งลงบ่ออย่างช้าๆ เพื่อให้กุ้งสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยง จะทำให้กุ้งมีอัตรารอดมากขึ้น
การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม มี 2 วิธี ได้แก่
(1) การเลี้ยงด้วยรูปแบบดั้งเดิม เน้นการให้อาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยง โดยนำลูกกุ้งที่คว่ำแล้วประมาณ1 สัปดาห์ และได้รับการปรับสภาพให้อยู่ในน้ำจืดแล้วอย่างน้อย 2 – 3 วัน ปล่อยลงบ่อเลี้ยงโดยตรง หลังจากนั้นประมาณ 6 – 10 เดือนขึ้นไป จึงเริ่มจับกุ้งที่โตได้ขนาดตามกำหนดเพื่อจำหน่าย โดยทยอยจับเดือนละครั้งจนหมดบ่อเลี้ยง ซึ่งในช่วง 1 ปี จะเลี้ยงได้เพียง 1 รอบ
(2) การเลี้ยงด้วยรูปแบบกึ่งพัฒนาและพัฒนา ให้นำลูกกุ้งที่คว่ำแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และได้รับการปรับสภาพให้อยู่ในน้ำจืดแล้วอย่างน้อย 2 – 3 วัน ไปอนุบาลในบ่อดินประมาณ 2 – 3 เดือน จนกุ้งมีขนาด2 -5 กรัม/ตัว หลังจากนั้นจะทำการคัดเพศและขนาดของกุ้งก่อน แล้วย้ายไปเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกุ้งประมาณ 4 เดือน จึงจับกุ้งเพื่อจำหน่าย ซึ่งในช่วง 1 ปี จะเลี้ยงได้ 3 รอบ
การให้อาหารกุ้งก้ามกราม
ในช่วงแรกของการปล่อยลูกกุ้งลงบ่อ จะเลี้ยงโดยเน้นให้อาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยง สังเกตน้ำในบ่อจะมีสีขาวหรือน้ำตาลอมเขียว แสดงว่ามีอาหารตามธรรมชาติในบ่อเพียงพอสำหรับเลี้ยงกุ้ง หลังจากนั้น 10 วันจึงเปลี่ยนเป็นการให้อาหารชนิดเกล็ด อาหารเม็ด หรืออาหารสำเร็จรูปสำหรับกุ้งเล็ก และจะให้อาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นตามขนาดของกุ้ง การให้อาหารกุ้งควรหว่านให้กระจายทั่วบ่อจะทำให้กุ้งกินอาหารได้ทั่วถึงโดยให้อาหารวันละ 2 – 3 ครั้ง
การจัดการคุณภาพน้ำ
ใช้วิธีการเติมน้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับน้ำของบ่อ ซึ่งระดับน้ำมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง เนื่องจากกุ้งเป็นสัตว์น้ำที่เจริญเติบโตด้วยการลอกคราบ การเติมน้ำใหม่เพื่อรักษาระดับน้ำจะช่วยกระตุ้นให้กุ้งลอกคราบและยังช่วยให้น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของกุ้ง
ลักษณะภูมิประเทศ
จ.ราชบุรีตั้งอยู่ในภาคกลางด้านทิศตะวันตก มีแม่น้ำแม่กลองเป็นแม่น้ำสายหลัก ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 4ลักษณะ คือ พื้นที่ภูเขาสูง พื้นที่ราบสูง พื้นที่ราบลุ่มและพื้นที่ราบต่ำ โดยพื้นที่เลี้ยงกุ้งก้ามกรามบางแพ จะครอบคลุมอำเภอบางแพ อำเภอดำเนินสะดวก และอำเภอโพธาราม ซึ่งเป็นพื้นพื้นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินของ 3 อำเภอดังกล่าวเป็นดินเหนียวสีเทาเข้มถึงสีดำ ที่มีเนื้อละเอียด ถึงเนื้อละเอียดมาก เป็นดินในกลุ่มชุดดินที่ 2 (ชุดดินอยุธยา) 3 (ชุดดินบางแพ) และ 8 (ชุดดินดำเนินสะดาก) ซึ่งเกิดจากตะกอนน้ำผสมกับตะกอนทะเลที่พัฒนาในสภาพน้ำกร่อยเป็นหลักและมีบางส่วนเกิดจากตะกอนน้ำพัดพา จึงมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุและจุลินทรีย์ปานกลางถึงสูง มีปฏิกิริยาดินเป็นกรด – ด่างปานกลาง อยู่ในระหว่าง 5.5-8.0 และมีการระบายน้ำเลวประกอบกับมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบน้ำทะเลเคยท่วมถึงหรือเป็นแอ่งที่ราบน้ำท่าท่วมถึง อีกทั้งลักษณะภูมิอากาศที่โปร่งเย็น ไม่ร้อนจัด ไม่หนาวจัด ทำให้อุณหภูมิของน้ำอยู่ในช่วง 25 – 30 องศาเซลเซียส ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้กุ้งโตเร็ว มีเปลือกสีน้ำเงินมันเงา ก้ามสีน้ำเงินหรือสีครามปนสีทอง เนื้อแน่นเต็มเปลือกเมื่อปรุงสุกจะมีรสชาติหวาน มันกุ้งมากและไม่มีกลิ่นคาว ทำให้พื้นที่ทั้งสามอำเภอดังกล่าวเหมาะแก่การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามบางแพเป็นอย่างยิ่ง
ประวัติความเป็นมา
ในอดีตชาวบ้านส่วนใหญ่ของอำเภอบางแพ มีอาชีพทำการเกษตรโดยปลูกข้าวเป็นหลัก แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะทำให้มีน้ำท่วมขังเกือบทั้งปี การปลูกข้าวของเกษตรกร จึงประสบปัญหาเนื่องจากน้ำท่วมขังในที่นาทำให้ข้าวที่ปลูกอยู่ในสภาพลอยนำเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไม่สามารถรับประพานได้ พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ จึงถูกปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าเป็นที่อยู่อาศัยของวัชพืชล้มลุกคือ “รูปปษี” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ปรือ” “กกข้าง” “กกรูป” หรือ “เฟื้อ” ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถกำจัดในโตรเจนจากน้ำเสียและดูดเก็บโพแทสเซียมได้
จากปัญหาการปลูกข้าวทำให้เกษตรกรรวมทั้งส่วนราชการพยายามแก้ปัญหาเพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในการทำการเกษตรอื่นแทนการปลูกข้าว และด้วยสภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นดินเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุจุลินทรีย์ มีระบบการชลประทานที่ดี มีคลองธรรมชาติและลำน้ำไหลผ่านผนวกกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำแม่กลองที่มีอาชีพตกกุ้งก้ามกราม จึงนำพันธุ์กุ้งก้ามกรามกรามมาเริ่มทดลองเลี้ยงราวๆ ปี พ.ศ. 2519 ด้วยเป็นกุ้งที่เป็นที่นิยมของตลาด มีราคาสูง อีกทั้งปริมาณกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงจำนวนมาก ซึ่งหลังจากได้ทดลองเลี้ยงแล้ว พบว่าพื้นที่ที่ไม่สามารถปลูกข้าวแล้วได้ผลผลิตที่ดีนั้น จะสามารถเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ผลเป็นอย่างดี มีลักษณะโดดเด่น คือ กุ้งมีเปลือกสีน้ำเงินมันเงา ก้ามสีน้ำเงินหรือสีครามปนสีทอง เนื้อแน่นเต็มเปลือก เมื่อปรุงสุกจะมีรสชาติหวาน มันกุ้งมาก และไม่มีกลิ่นคาวซึ่งเป็นผลมาจากดินในพื้นที่อำเภอบางแพมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากวัตถุต้นกำเนิดดินคือตะกอนลำน้ำและตะกอนน้ำทะเล ทำให้มีปริมาณอินทรีย์ย์วัตถุค่อนข้างสูง สีของดินที่มีสีเทาเข้มหรือดำ ประกอบกับมีหญ้าที่ขึ้นเฉพาะถิ่นคือ ธูปฤาษี เมื่อนำมาหมักกับดินในบ่อกุ้งตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมา จะช่วยปรับสภาพสีของน้ำให้มีสีขาวหรือสีน้ำตาลอมเขียวตามสีของธูปฤาษีก่อให้เกิดแพลงก์ตอน ไรแดง และตะไคร่น้ำ ซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติของกุ้งและป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องถึงก้นบ่อมากเกินไป ทำให้สภาพในบ่อกุ้งมืดครึ้ม ส่งผลให้กุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงมีเปลือกสีน้ำเงินสวย รวมทั้งน้ำซึ่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำจากระบบชลประทานที่ผันน้ำมาจากเขื่อนศรีนครินทร์และเชื่อนวชิราลงกรณ์ซึ่งเขื่อนทั้ง 2 แห่งนี้มีต้นน้ำคือ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ทำให้น้ำจากระบบชลประทานที่ใช้เลี้ยงกุ้งมีคุณภาพเหมาะสำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมื่อดินและน้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจึงทำให้ผลผลิตกุ้ง มีลักษณะโดดเด่นสามารถขายและสร้างรายได้ทดแทนการปลูกข้าวได้ เกษตรกรจึงหันมาเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
จำนวนมากทำให้อำเภอบางแพมีชื่อเสียงในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามทั้งในด้านบริมาณและคุณภาพจนกระทั่งได้รับการขนานนามจากวงการเลี้ยงว่าเป็น “เมืองหลวง ของการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม”
จากความสำเร็จของการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่อำเภอบางแพทำให้มีการส่งเสริมให้มีการขยายพื้นที่การเลี้ยงไปยังอำเภอใกล้เคียงซึ่งมีสภาพภูมิประเทศและลักษณะทางธรณีวิทยาที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ อำเภอดำเนินสะดวกและอำเภอโพธาราม โดยปัจจุบันอำเภอบางแพ ดำเนินสะดวก และโพธาราม