“กล้วยตากสังคม” GI กลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง ของดีจังหวัดหนองคาย

47

“กล้วยตากสังคม” (Sangkhom Dried Banana และ/หรือ Gluay Tak Sangkhom ) หมายถึง กล้วยน้ำว้าพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์มะลิอ่อง และพันธุ์ปากช่อง 50 ที่นำมาผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยการตากแดดและอบด้วยความร้อนในเตาถ่าน ทำให้ได้กล้วยตากสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม รูปทรงแบน เนื้อละเอียด ไม่มีเมล็ด ผิวสัมผัสแห้ง นุ่ม และหนึบ มีรสชาติหวานตามธรรมชาติ ปราศจากการปรุงแต่ง มีกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง ปลูกและแปรรูปในเขตพื้นที่อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียน “กล้วยตากสังคม”เมื่อ 22 กันยายน ปี 2563

330523169 1155751621809958 6165410515160174283 n

การปลูก

(1)พื้นที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยควรเป็นที่ราบเชิงเขาหรือเนินเขา สภาพดินโปร่ง ระบายน้ำได้ดีและฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

2) หน่อพันธุ์ ต้องเป็นหน่อพันธุ์กล้วยน้ำว้าพันธุ์พื้นเมือง หรือพันธุ์มะลิอ่อง หรือพันธุ์ปากช่อง 50 จากแปลงปลูกในพื้นที่ตำบลสังคม ตำบลแก้งไก่ ตำบลผาตั้ง ตำบลนางิ้ว และตำบลบ้านม่วง ของอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เท่านั้น โดยหน่อพันธุ์ต้องเป็นรุ่นเดียวกันที่มีสภาพสมบูรณ์ ปราศจากโรค ขนาดต้นสูงที่เหมาะสม คือ 1.50 เมตร

(3) ให้ทำการกำจัดวัชพืชและปรับพื้นที่ให้โล่งเตียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปลูกหน่อพันธุ์กล้วย

4) ทำการขุดหลุมขนาดกว้าง ยาว ลึก 30 x 30 x 50 เซนติเมตร หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

(5) แต่ละช่วงของการเจริญเติบโต ให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบำรุงดินตามสภาพพื้นที่ ดูแลรักษาโดยทำการตัดหญ้าและวัชพืช ปีละ 2 – 3 ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ตัดแต่งใบที่แห้งไม่สมบูรณ์ เพื่อป้องกันโรคแมลง

การเก็บเกี่ยว

กล้วยจะให้ผลผลิตหลังจากการปลูกในช่วง 8 – 12 เดือน และพร้อมเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาผลิตเป็นกล้วยตาก เมื่อกล้วยน้ำว้ามีอายุเครือ 110 – 120 วันหลังจากตัดเปลือกออกแล้ว หรือสังเกตจากลักษณะผลจะไม่มีเหลี่ยม ผิวเกลี้ยง ไม่แก่จัด (ไม่เหลืองมาจากสวน) เก็บเกี่ยวโดยตัดก้านเครือให้ขาด แล้ววางบนพื้นที่มีวัสดุรองรับเพื่อลดแรงกระแทก จากนั้นขนไปรวมไว้ในโรงเรือนมีหลังคา ซึ่งควรมีพื้นเรียบ แห้ง โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อเตรียมทำการบ่มและแปรรูป โดยตั้งก้านเครือด้านที่ตัดลงพื้น ป้องกันน้ำยางกล้วยหยดลงมากัดผิว

การแปรรูปกล้วยตากสังคม

(1) คัดเลือกกล้วยที่แก่จัดที่ปลูกและเก็บเกี่ยวจากในพื้นที่ตำบลสังคม ตำบลแก้งไก่ ตำบลผาตั้ง ตำบลนางิ้ว และตำบลบ้านม่วงของอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เท่านั้น มาทำการบ่มทั้งเครือ โดยวางเรียงให้ปลายก้านเครือลงพื้น จากนั้นคลุมทับด้วยผ้าที่ระบายอากาศได้ดี สลับกับเปิดผ้าคลุมให้สัมผัสอากาศเพื่อระบายความร้อนไม่ให้กล้วยสุกเร็วเกินไป และทำให้เกิดความหวานของกล้วยตามธรรมชาติ โดยระยะเวลาการบ่มในกรณีฤดูหนาวหรืออากาศเย็นใช้เวลาบ่มในช่วง 5 – 7 วัน หากอากาศเย็นอาจใช้เวลาในช่วง 7 – 10 วัน กรณีฤดูร้อน หรืออากาศร้อนใช้เวลาบ่มในช่วง 5 วัน

(2) นำกล้วยที่ผ่านการบ่มสุกแล้ว มาปอกเปลือกแล้ววางเรียงบนกระแตะไม้ไผ่ หรืออุปกรณ์อื่นตามความเหมาะสม จากนั้นนำไปตากแดดกลางแจ้ง หรือตากในโรงเรือนพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นเวลา 2 วัน จึงนำกล้วยมากดด้วยมือหรือแผ่นไม้ โดยทับหรือบีบให้แบนพียงเล็กน้อยไม่แบนราบ

( 3) นำกล้วยไปตากแดดกลางแจ้ง หรือตากในโรงเรือนพลังงานแสงอาทิตย์ อีกครั้งหนึ่ง กล้วยไปตากแดดกลางแจ้งควรคลุมด้วยผ้าเรโทรสีดำ เพื่อป้องกันฝุ่นและแมลง ช่วงเวลาเย็นให้กลับด้านแล้วนำไปอบ โดยใช้เดาถ่านและถ่านไม้ในการอบให้ความร้อนตามความเหมาะสม กระบวนการนี้ทำสลับกันจะใช้เวลาในช่วง 6 – 7 วัน

(4) นำกล้วยที่ผ่านกระบวนการตากและอบแล้ว บรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิดหรือถุงพลาสติกใส พักไว้2 – 3 วัน เพื่อให้เนื้อกล้วยคลายตัวรวมถึงบ่มให้ความหวานขับออกมาฉาบผิวกล้วย

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะพื้นที่ทอดยาวขนานตามแนวแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็นพื้นที่ราบ พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน และพื้นที่เป็นภูเขาสูง

โดยเขตพื้นที่อำเภอสังคม มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแบบลูกคลื่นลอนชันและเป็นป่าเขาธรรมชาติ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางในช่วง 200 – 908 เมตร ลักษณะดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนลูกรัง มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลางถึงดำ หน้าดินมีลักษณะโปร่งระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขัง เหมาะสำหรับการปลูกพืชที่รากตื้นโดยเฉพาะกลัวย

ลักษณะภูมิอากาศ

จังหวัดหนองคายได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่ประมาณกลางเดือนดุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ทำให้จังหวัดหนองคายมีอากาศหนาวเย็นและแห้งและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าปกคลุมประเทศไทยในช่วงฤดูฝนประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนดุลาคมทำให้มีฝนดกชุกทั่วไป

ฤดูกาลของจังหวัดหนองคาย แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนดุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง เดือนที่มีอากาศหนาวมากที่สุดจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ฤดูร้อน เริ่มต้นนประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นที่มีอากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวที่สุดของปี ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม มีฝนดกชุกตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุดในรอบปี ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปีของจังหวัดหนองคาย อยู่ระหว่าง 1,400 – 2,000 มิลลิเมตร

จากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นพื้นที่สูง เนินเขา และภูเขา ประกอบกับภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม ทำให้กลัวยที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวเจริญเติบโดได้ดี จุดเด่นของกล้วยน้ำว้าที่ปลูกในเขตอำเภอสังคมจะไม่เหมือนกับที่อื่นๆ ที่นี้จะมีรสชาติหวานอร่อยจนทำให้เป็นที่ยอมรับกันมาอย่างยาวนานจากผู้บริโภค แม้ว่าลูกจะไม่โต ไม่อ้วน แต่ก็มีรสชาติหวานและมีกลิ่นหอมมากกว่ากล้วยน้ำว้าจากที่อื่น ยิ่งเวลาที่กล้วยสุกจะเห็นได้ชัดเจนลักษณะของเปลือกจะไม่แข็งจะนุ่ม เหมาะสำหรับนำไปแปรรูปเป็นกล้วยตาก และด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปกล้วยตาก ทำให้มี รสชาติดีเป็นเอกลักษณ์ ส่งผลให้เพิ่มมูลค่าผลผลิตทำให้กล้วยตากของ”อำเภอสังคม”มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ประวัติความเป็นมา

อำเภอสังคม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย แต่เดิมมีเพียง 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านสังคม บ้านม่วง และบ้านแก้งไก่ ต่อมามีราษฎรอพยพเข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้น ได้ยกฐานะเป็นอำเภอสังคม เมื่อปี พ.ศ. 2514 การปลูกกล้วยในพื้นที่เริ่มเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่พบว่าอำเภอสังคม มีเกษตรกรกรปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดของจังหวัดหนองคาย ถือเป็นฐานการผลิตและส่งจำหน่ายผลผลิตจากกล้วยแหล่งใหญ่ของภาคอีสาน มีพื้นที่ปลูกกระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่อำเภอสังคม จนกล้วยน้ำว้าเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอสังคม

ส่วนใหญ่เกษตรกรจะปลูกกลัวยน้ำว้าเพื่อจำหน่ายผลสด ซึ่งราคากลัวยน้ำว้าแต่เดิมราคาถูก จึงมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มแม่บ้าน เมื่อปี 2542 นำกล้วยน้ำว้ามาแปรรูปเป็นกลัวยตากเพื่อเพิ่มมูลค่าของกล้วยและได้ทำกันเกือบทุกหลังคาเรือน ทำให้”กล้วยตากสังคม”เป็นหนึ่งในของขึ้นชื่อของอำเภอสังคม


ขอบเขตพื้นที่การปลูกและแปรรูป กล้วยตากสังคมครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

GI63100149 page 0006 แก้