“เงาะโรงเรียนนาสาร” (Rongrien Nasan Rambutan) หมายถึง เงาะพันธุ์โรงเรียน ผลทรงกลม เปลือกบาง เนื้อหนา แห้ง กรอบล่อนจากเมล็ด รสชาติหวาน หอม ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม และอำเภอเวียงสระ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “เงาะโรงเรียนนาสาร” เมื่อปี 2561
การปลูก
(1) การเตรียมดิน ไถพรวน ปรับพื้นที่ให้เรียบ และของระบายน้ำในแปลง
(2) ต้นพันธุ์ที่นำไปปลูกได้ต้องมีความสมบูรณ์แข็งแรง มีระบบรากสมบูรณ์ รากไม่ขด เอียง หรืองอ
(3) ระยะปลูก ระหว่างต้น 8 – 10 เมตร ระหว่างแถว 8 – 10 เมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่
(4) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุม ขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ผสมดินปลูกด้วยหินฟอสเฟต 2 กระป๋องนม พร้อมปุ๋ยคอกแห้ง 2 ปุ้งกี่ กลบลงในหลุมให้ระดับดินสูงกว่าระดับดินเดิม 20 – 25 เซนติเมดรหรือตามความเหมาะสมของพื้นที่
(5) การปลูก ขุดหลุมเล็กๆ ตรงกลางหลุมใหญ่แล้วเอากิ่งพันธุ์ดีลงปลูก กลบดินอย่าให้สูงกว่ารอยแผลที่ติดตา ใช้ไม้หลักปักแล้วผูกเชือกยึดกิ่งเพื่อป้องกันลม
(6) การให้น้ำ การให้น้ำแก่ต้นเงาะ ต้องมีความเพียงพอและเหมาะสมต่อระยะของการเจริญเดิบโด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 เงาะที่ยังไม่ให้ผลผลิต ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2 – 3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ชนิดดินและปริมาณอินทรียวัดถุในดิน ระยะที่ 2 เงาะที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
1) ระยะก่อนออกดอก เพื่อให้มีการสร้างตาดอกควรงดการให้น้ำต่อเนื่องกัน 15 – 25 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและสภาพภูมิอากาศ หลังจากนั้นควรให้น้ำบ้างเพื่อไม่ให้ใบร่วงและไม่ควรให้น้ำมากเกินไปในระยะนี้จะทำให้เงาะแตกใบอ่อน
2)ระยะดอกบาน ควรลดปริมาณการให้น้ำ เพื่อช่วยให้ติดผลดีขึ้น เมื่อติดผลแล้ว ค่อยๆเพิ่มปริมาณการให้น้ำ จนถึงระดับปกติ
3) ระยะของการติดผล ระยะนี้ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอหากขาดน้ำผลจะไม่โต และอย่าให้ขาดน้ำหรือให้น้ำมากเพราะจะทำให้เปลือกผลแตกและผลร่วง
การติดผลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต
เมื่ออายุ 3 ปี – 3 ปีครึ่ง ก็จะเริ่มให้ผลผลิต การเก็บเกี่ยวใช้กรรไกรตัดช่อผล ซึ่งมีตาข่าย(salaก) วางไว้บริเวณรอบโคนต้นเพื่อป้องกันมิให้ผลผลิตเสียหายหรือบอบช้ำจากการกระแทกพื้นและไม่มีสิ่งสกปรก นำผลผลิตไปตัดแยกเกรด ซึ่งผลผลิตของเงาะพันธุ์โรงเรียนจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมของทุกๆ ปี
การดูแลรักษาหลังการเก็บเกี่ยว
หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว ควรจัดเก็บวัสดูและเศษไม้ต่างๆ ออกจากสวน พร้อมกับตัดแต่งกิ่งที่แตกหัก กิ่งที่เป็นโรค และกิ่งที่ไม่ต้องการออก ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ้ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 15 – 15 – 15 เป็นต้น อัตราการใส่ 1 – 2 กิโลกรัมต่อต้น แล้วรดน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอบ้านนาสาร อำเภอบ้านนาเดิม และอำเภอเวียงสระ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำตาปี คลองฉวาง คลองสระ คลองท่าทอง และคลองลำพูน ดินเกิดจากตะกอนของน้ำที่มาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำหรือสันดินริมน้ำ ระบายน้ำดี มีธาตุยิปซั่มและแมกนีเซียมอยู่ในดินปริมาณมาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเคยเป็นเหมืองแร่มาก่อน ความอุดมสมบูรณ์ของดินเหมาะแก่การปลูกเงาะมาก
สภาพอากาศ ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฤดูฝนยาวนาน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนมกราคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25 – 30 องศาเซลเชียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 – 80 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,500 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี ด้วยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศดังกล่าว ทำให้เงาะโรงเรียนที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าว มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ
ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 นายเคหว่อง ชาวปีนัง ได้เดินทางมาทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ที่อำเภอบ้านนาสาร โดยพักอาศัยอยู่ริมทางรถไฟ และได้นำเงาะพันธุ์เจ๊ะมงซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองของปีนัง (เงาะพันธุ์เจ๊ะมง ผลใหญ่ ลักษณะทรงรี เปลือกหนา ผลสีแดงเข้ม ไม่หวาน) มารับประทานแล้วได้ทิ้งเมล็ดไว้ ด้วยเหตุของดินที่ดีและมีความชุ่มชื้นอุณหภูมิพอเหมาะทำให้เมล็ดที่ถูกทิ้งไว้งอกขึ้นมาประมาณ 3 ต้น ประมาณพ.ศ.2500 – 2501 เมื่อนายเคหว่องเลิกกิจการเหมืองแร่ได้ขายบ้านพักพร้อมที่ดินให้กับทางราชการ ตั้งเป็นโรงเรียน ชื่อโรงเรียน “นาสาร” โดยมีครูแย้ม พวงทิพย์เป็นครูใหญ่ ต้นเงาะทั้ง 3 ต้นได้เจริญงอกงาม และได้ออกดอกติดผล มีอยู่ต้นหนึ่งผลของเงาะมีรสชาติหวานกรอบอร่อยซึ่งแตกต่างจากพันธุ์เดิม จึงนำไปให้กับชาวนาสารปลูก จนเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอบ้านนาสารและขยายพันธุ์ไปจังหวัดต่างๆ โดยตั้งชื่อตามแหล่งกำเนิดคือโรงเรียนนาสารจึงใช้ชื่อว่า “เงาะโรงเรียนนาสาร”
ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯ ถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้ใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า “ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว” ตั้งแต่นั้นมา เงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียนอย่างเป็นทางการ จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จัดงานวันเงาะโรงเรียน ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคมของทุกปี และมีการทำขวัญเงาะโรงเรียนนาสาร “เงาะโรงเรียนาสาร” เป็นเงาะที่หวานกรอบ ผลสีแดงเข้ม ปลายขนสีเขียว เป็นเงาะโรงเรียนอร่อยที่สุดเงาะหนึ่งในผลไม่โปรดของหลายๆคน