รู้จัก…”ปลิงทะเลขาว” เกษตรมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”

98 ปี กรมประมง มีเรื่องราวที่น่าสนใจหลายอย่างโดยเฉพาะในเรื่องของ โครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” งานนี้กรมประมงโชว์ของเต็มที่!! ทั้งโชว์ตัวเป็นๆ แนะนำวิธีการเลี้ยง รวมไปถึงการแปรรูปสร้างมูลค่า

S 8855587

โครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง ๆ “ 1ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” เป็นโครงการที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับรายได้ของกลุ่มเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมุ่งเน้นการพัฒนาในระดับชุมชนและท้องถิ่นเพื่อเป็นการยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้เพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี

ภายใต้แนวคิดตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดบูรณาการแผนงานและงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายนี้ในระดับพื้นที่ (ตำบล) ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ สามารถวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาส วางแผนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน

S 8855590

ตลอดจนเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการผลิตของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและบริการเชิงสร้างสรรค์ให้เข้มแข็ง

S 8855591

แนวทางการขับเคลื่อนการบริหารนโยบายสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูงจำแนกประเภทกลุ่มสินค้าและบริการเพื่อพัฒนายกระดับสินค้าเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

-กลุ่มสินค้าเกษตรมูลค่าสูงเพื่อส่งออกเป็นสินค้าที่มีการรวมกลุ่มกันผลิตรวมกลุ่มกันจำหน่ายโดยมีตลาดต่างประเทศ

S 8855592

-กลุ่มสินค้าเกษตรมูลค่าสูง มีการแปรรูปเป็นสินค้าที่มีตลาดภายในประเทศมีการจำหน่ายเป็นผลผลิตโดยตรงหรือมีการแปรรูปซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ

– กลุ่มสินค้าเกษตรและบริการเชิงสร้างสรรค์เป็นสินค้าสะท้อนเอกลักษณ์และเสน่ห์ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสามารถยกระดับ และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของชุมชนในการจะส่งออกสูง

S 8855593
S 8855594

สินค้าและบริการมูลค่าสูงด้านประมง

7 กลุ่มชนิดสินค้า ประกอบด้วย

สินค้าปลาสวยงาม
🔸สินค้ากุ้งก้ามกราม
🔸สินค้ากุ้งทะเลต้มสุก/แช่แข็ง
🔸สินค้าปลานิล
🔸สินค้ากุ้งทะเลมีชีวิต
🔸สินค้าปูม้า
🔸สินค้าปลากะพงขาว

2 กลุ่มชนิดสินค้าเพิ่มเติมคือ
🔸ปลิงทะเล
🔸สาหร่ายทะเล

และเช้าวันนี้…ที่ชวนพี่น้องๆมาทายกันว่า ภาพอะไร เป็นภาพก้น/รูทวารของปลิงทะเลขาว

ปลิงทะเล มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล ทำหน้าหน้าที่ช่วยลดสารอินทรีย์ในระบบห่วงโซ่อาหารปลิงทะเลเป็นสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะปลิงขาว ปลิงขาวที่นำไปแปรรูปเป็นปลิงทะเลตากแห้ง เนื่องจากมีรสชาติดี โปรตีนสูง และมีกรดมิวโคโพลีแชคคาไรด์ไตรเทอพีน ไกลโคลไซด์ และโฮโลโทนิน มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย ปัจจุบันมีการจับจากธรรรมชาติเป็นจำนวนมากจนส่งผลให้ปริมาณปลิงพะเลในธรรมชาติลดน้อยลง ปลิงทะเลสดขนาดประมาณ 300 – 350 กรัมต่อตัว มีราคาขายตัวละ 200 – 500 บาท สำหรับปลิงตากแห้ง ราคา 5,000 – 8,000 บาท ต่อกิโลกรัม

การเพาะพันธุ์ปลิงทะเลในโรงเพาะฟัก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งประจวบคีรีขันธุ์กรมประมง ได้ทำการศึกษาการเพาะพันธุ์และอนุบาลปลิงขาว (H. scabra)มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะพันธุ์ปลิงทะเลมาจากศูนย์ฯประจวบคีรีขันธุ์ โดยเริ่มทำการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลิงขาวจากธรรมชาติ มากระตุ้นให้ปลิงปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ และสามารถอนุบาลลูกปลิงขาวจนถึงระยะวัยอ่อน (doliolana) เพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติชายฝั่งทะเลจังหวัดพังงา ปีละไม่น้อยกว่า 2,000,000 ตัว และวางแผนการพัฒนาการผลิตลูกพันธุ์ปลิงทะเลจนถึงระยะวัยรุ่น (juvenile) ขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จำหน่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่เพื่อนำไปเลี้ยงต่อไป

ความก้าวหน้าและผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงปลิงขาวของเกษตรกรจากลูกพันธุ์ที่ผลิตในโรงเพาะพักปลิงขาวสามารถเลี้ยงได้ดีในบ่อดิน และในคอกที่กั้นในทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติโดยระดับความเค็มที่เหมาะสมสำหรับการเจริญโตอยู่ระหว่าง 27 – 35 ส่วนในพัน

การเลี้ยงปลิงขาวสามารถเลี้ยงร่วมกับสัตว์น้ำชนิดอื่นได้เช่น ปลาเก๋า ปลานวลจันทร์ทะเล หอย หรือเลี้ยงโดยการหมุนเวียนน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นต้น

การเลี้ยงในบ่อดินขนาด 1 ไร่ สามารถเลี้ยงได้300 – 500 ตัว ใช้ระยะเวลา 1.5 – 2 ปี ได้ผลผลิตปลิงขาวขนาด 300 – 900 กรัมต่อตัว อัตราการรอดตาย30 – 50 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตที่ได้ประมาณ 150 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 250 บาท เป็นเงินประมาณ 37,500 บาทต่อไร่ ต้นทุนประมาณ 18,000 บาทต่อไร่

ใครสนใจลองติดต่อทางกรมประมง