“สับปะรดนางแล” GI ของดีจังหวัดเชียงราย หวานฉ่ำกลิ่นหอมคล้ายน้ำผึ้ง

359171แแ

“สับปะรดนางแล” ( Nanglae pineapple ) หมายถึง สับปะรดพันธุ์น้ำผึ้ง ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Smooth cayenne เช่นเดียวกับ พันธุ์ปัตตาเวีย ปลูกในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI) “สับปะรดนางแล” เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2548 ผู้ยื่นขอจดทะเบียน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลนางแล

การปลูก

(1) ปลูกได้ตลอดปีแต่นิยมปลูกก่อนฤดูฝน การปลูกใช้ได้ทั้งระบบการปลูกแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่

-แถวเดี่ยว ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร

-แถวคู่ เว้นระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างแถวคู่ 150 เซนดิเมดร

(2) การเตรียมพันธุ์ – ใช้หน่อพันธุ์ที่เกิดในพื้นที่ตำบลนางแลเท่านั้น โดยเลือกหน่อข้างที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หน่อที่หักได้จะนำไปปลูกเลย โดยไม่ต้องนำหน่อออกผึ่งแดดหรือผ่านกรรมวิธีใดๆ

3) การหักจุก หลังติดดอกและสับปะรดมีอายุประมาณ 2 เดือน (สังเกตว่าดอกเริ่มเหี่ยวและร่วง) จะทำการหักจุกและห่อด้วยกาบใบ เพื่อให้สารอาหารไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น

ลักษณะภูมิประเทศ

ตำบลนางแล มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ที่ราบเชิงเขา เนินเขา และภูเขาสูง มีแนวเขาอยู่ในด้านทิศตะวันตก อันเป็นแหล่งกำเนิดลำห้วยหลายสาย เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญ พื้นที่มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย ประมาณ 400 เมตร ทำให้อากาศเย็นสบาย แต่มีอากาศหนาวในฤดูหนาว ประกอบกับสภาพพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่มีความลาดเอียงทำให้การปลูกสับปะรดในพื้นที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรครากเน่า ลักษณะของดิน ระบายน้ำได้ดี การซึมซับของน้ำอยู่ในระดับปานกลาง การไหลบ่าของน้ำผิวดินอยู่ในระดับปานกลางถึงเร็ว ระดับน้ำใต้ดินไม่ลึก และดินมีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม คาร์บอน ไนโตรเจน ลักษณะภูมิอากากาศ มีอุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกโดยเฉลี่ย 1757.4 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตกเฉลี่ย 140 วันในหนึ่งปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 76

ประวัติความเป็นมา

นายเข่ง แซ่อุย เป็นชาวจีนไหหลำอพยพมาจากประเทศจีน มีภรรยาชื่อ นางจันทร์ เกิดคำ เดิมอาศัยอยู่อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ แล้วอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านป่าซางวิวัฒน์ ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 8 ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณปี พ.ศ. 2497 นายเข่งได้กลับไปเยี่ยมญาติ เมื่อกลับมาได้นำสับปะรดมา 30 ต้น โดยนำมาปลูกที่บ้านป่าซางวิวัฒน์ (ป้จจุบันคือสวนของนายอวยชัย ดวงแก้ว)ปรากฏว่าในปีต่อๆ มา สับปะรดมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ โดยมีสีเนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำผึ้ง หวานฉ่ำ กลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้ง ต่อมาในปี พ.ศ.2505 กำนันคำลือ เขื่อนเพชร อดีตกำนันตำบลนางแล ได้ซื้อหน่อสับปะรดจากนายเข่ง แซ่อุย มาปลูก และได้แพร่ขยายพันธ์ุต่อไปไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และมีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้

จากป้จจัยทางธรรมชาติและปัจจัยมนุษย์ ส่งผลให้ชื่อของ”สับปะรดนางแล” เป็นที่รู้จักของคนในจังหวัดเชียงราย และ
ผู้ที่ไปเที่ยวในจังหวัดเชียงราย ซึ่งตำบลนางแล นับว่าเป็นแหล่งปลูกสับปะรดที่อร่อย มีรสชาติดี จึงกลายเป็นผลไม้ที่มี
ชื่อเสียงของจังหวัด ดังคำขวัญที่ว่า “เหนือสุดแดนสยาม อร่ามดอยตุง ผดุงคุณธรรม เลิศล้ำข้าวสาร หอมหวานลิ้นจี่
สตรีโสภา ชาเลิศรส สับปะรดนางแล” ทั้งนี้การปลูกสับปะรดนางแล จะปลูกอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

13.49100013 page 0004