ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปัจจุบันมีสารกำจัดวัชพืช “มีโซไตรโอน”…จากสารธรรมชาติ…สู่สารเคมี
มีชื่อสามัญ: Mesotrine ชื่อทางเคมี: 2 -[4-(Methylsulfonyl)-2-nitrobenzoyl]cyclohexane-1,3-dione สูตรทางเคมี: C14H13NO7S ที่เกษตรทั่วโลกนำไปใช้งานในขณะนี้
เมื่อถามว่า…มีโซไตรโอน (Mesiotrione) มาจากไหน❓️
ดร.จรรยา ตอบว่า เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช.. ที่ได้จากการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ธรรมชาติ(Natural Organic Compound) ซึ่งพบอยู่ในใบของต้นแปรงล้างขวด
ชื่อสามัญ: แปรงล้างขวด
Common name : California Bottle Brush
Scientific Name: Callistemon citrinus
Family: Myrtaceae
ประวัติการค้นพบ
ในปี พ.ศ.2520 มีนักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นว่าบริเวณใต้ต้นแปรงล้างขวด ไม่มีวัชพืชขึ้นเลย คาดว่าจะเป็นผลจากสาร Allelopathy ที่อยู่ในใบ จึงนำใบมาสกัด และค้นพบว่าสารดังกล่าว คือ Leptospermone
ในเวลาต่อมา จึงมีการสังเคราะห์เป็นสารเคมีเพื่อนำไปศึกษาทั้งประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช และความปลอดภัยต่อพืชที่ปลูก จนแน่ใจว่าสามารถใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชได้ จึงนำไปจดลิขสิทธิ์โดยบริษัท ICI ในปี 2537 และค้นคว้าวิจัยความเป็นพิษต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม
มีโซไตรโอน (Mesiotrione) จัดอยู่ในกลุ่ม F มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 4-HPPD ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่อยู่ในกระบวนการสังเคราะห์แคโรทีนอยด์ ส่งผลให้คลอโรฟิลล์ในพืชถูกทำลาย ใบพืชจึงเปลี่ยนเป็นสีขาวเนื่องจากขาดคลอโรฟิลล์ ทำให้พืชสังเคราะห์แสงไม่ได้และตายในที่สุด
ในปี 2544 บริษัท Syngenta ได้นำมาขึ้นทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดเลือกทำลายในข้าวโพด
แนวความคิดที่จะใช้สารธรรมชาติ มาใช้เป็นยาคนหรือยาสัตว์ หรือ ยาพืช ไม่ใช่เรื่องใหม่
ถ้าเปรียบสารใกล้ตัวคนไทยที่สุด คือฟ้าทะลายโจร ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้หวัด เช่น ไอเจ็บคอมีไข้และต้านเชื้อไวรัสโควิด-19
หากต้องการรับประทานใบสด เพื่อให้ได้สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide)ในปริมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน เราต้องปลูกฟ้าทะลายโจร ไว้เท่าไหร่ จึงจะเพียงพอ แถมยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ส่งผลต่อปริมาณ สารแอนโดรกราโฟไลด์ ในฟ้าทะลายโจร
จึงเป็นที่มาของการนำฟ้าทะลายโจรไปสกัดด้วยเมทานอล และนำมาใช้ในรูปสารเคมีที่ทราบปริมาณสารออกฤทธิ์ที่แน่นอนว่า 1 แคปซูลมี 20 มิลลิกรัม..
ดร.จรรยาตั้งคำถามว่า…แปลกมั้ย❓️ที่คนไทยยังเรียก “ฟ้าทะลายโจร” เป็นยาสมุนไพร แต่ “มีโซไตรโอน” กลายเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช