“ไข่เค็มไชยา”สินค้า GI ของฝากขึ้นชื่อจาก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

“ไข่เค็มไชยา” หมายถึง ไข่เค็มที่ผลิตจากไข่เป็ดที่ได้จากเป็ดที่เลี้ยงในพื้นที่อำเภอไชยาและผลิตเป็นไข่เค็มด้วยกรรมวิธีพิเศษตามภูมิปัญญาของคนไชยา , ขนาดไข่ใบใหญ่ , ไข่แดงร่วนเป็นทราย มีความมัน , ไข่ขาวนุ่ม ,รสไม่เค็มจัด, กลิ่นหอม ไม่เหม็นคาว กรมทรัพย์สินทางปัญญาขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI)ไข่เค็มไชยา เมื่อวันที่ 1 พ.ย. พ.ศ.2549

57716551 2224085914280568 5033648683900469248 n

ประวัติความเป็นมา

เมืองไชยาหรือเมืองศรีวิชัยในอดีต มีความเจริญรุ่งเรืองมากระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 -17 การทำไข่เค็มไชยาเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2466 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนายกี่ แซ่ปัก ชาวจีนกวางตุ้ง ซึ่งมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตอนโรงทอง อำเภอเมืองไชยา มีอาชีพเป็นช่างทำสะพานเหล็กทางรถไฟสายชุมพร สุราษฎร์ธานี และเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ ซึ่งเกือบทุกครัวเรือนจะเลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ เมื่อไข่เป็ดมีจำนวนมากขึ้นจึงนำไปขายที่ตลาดสถานีรถไฟ และสถานที่สำคัญๆ หลายแห่งในอำเภอไชยา

ต่อมามีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรจะเก็บไข่ไว้ได้นาน จึงได้ปรึกษากับชาวบ้านเมืองไชยา ใช้ภูมิปัญญาที่มีทดลองอยู่หลายวิธี จนกระทั่งยอมรับวิธีการใช้ดินจอมปลวกในอำเภอไชยามาผสมเกลือป่นในอัดราส่วนพอเหมาะ นำมาพอกไข่เป็ดสดที่ได้จากเป็ดที่เลี้ยงเอง คลุกขี้เถ้า เก็บไว้นานพอประมาณ แล้วนำมาต้มกินจะได้ไข่เค็มที่ไข่แดง เป็นมัน หอม รสชาติอร่อย จึงได้ผลิตไข่เค็มตามกรรมวิธีดังกล่าวขาย ซึ่งขายดีมาก ทำให้คนอื่นๆ ในตลาดไชยาหันมาผลิตไข่เค็มขายกันเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ.2477 ไข่เค็มพัฒนาจนมีชื่อเสียงเป็นที่จักของคนทั่วไป ใครไปใครมาก็ซื้อเป็นของฝากในนาม ” ไช่เค็มไชยา ” การทำไข่เค็ม จึงกลายเป็นอาชีพหลักของชาวไชยา บ่งบอกวิถีชีวิตวัฒนธรรม ดังคำขวัญอำเภอไชยาว่า ” พระบรมธาตุคู่เมือง รุ่งเรืองพทธศาสน์ พุทธทาสปราชญ์โลก สวนโมกข์พลาราม ลือนามศรีวิชัย ผ้าไหมพุมเรียง ทะเลเตียงหาดทราย แหล่งซื้อขายไข่เค็ม”

Khaikhem Chaiya 1 แก้

กระบวนการผลิต

(1) การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงตามธรรมชาติโดยให้เปิดกินอาหารในท้องถิ่น คือ ข้าวเปลือกเจ้า อาหารสดจากทะเล เช่น หอยกระพง ลูกปลาสด(ปลาเปิด) หัวกุ้ง ลูกปู เป็นต้น

(2) การเตรียมไข่เป็ด

  • คัดเลือกไข่สดใบใหญ่ได้ตามมาตรฐาน คือ ไข่เป็ด 300 ฟอง ต้องหนักไม่น้อยกว่า 23 กิโลกรัม
  • เปลือกไข่ไม่มีรอยบุบหรือรอยร้าว

(3) การเตรียมดินที่ใช้พอก

-คัดเลือกดินจอมปลวกสีแกมเหลืองที่แห้งสนิทที่อยู่ในอำเภอไชยา นำมามาบดให้ละเอียด และร่อนด้วย
ตะแกรงตาถี่ เพื่อแยกทรายและวัตถุเจือปนออก

-เกลือป่น ที่เป็นเกลือทะเล จะเป็นเกลือสำเร็จรูป หรือเกลือเม็ดใหญ่มาปนก็ได้ โดยห้ามใช้น้ำเกลือ และน้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำบ่อ หรือน้ำบาบาดาลเท่านั้น

-ผสมดินจอมปลวกที่บดละเอียดกับเกลือป่น ในอัตราส่วนเฉลี่ย 5 : 2

(4) นำไข่เป็ดตาม (2) ลงชุบในดินตาม (3) และนำไปวางบนพื้นขี้เถ้าแกลบ 6-7 ชั้น น้ำขี้เถ้ามาบีบให้ติดทั่ว
เปลือกไข่

(5) บรรจุลงกล่อง ระบุจำนวนฟอง ระบุวันเวลาการบริโภคได้และวันหมดอายุ