ปลูกอะไรถึงรวย ปลูกอะไร มีรายได้ดี ปลูกอะไร แล้วคุ้มที่สุดทำไมถึงต้องมีเกษตรมูลค่าสูง

เมื่อรัฐบาลจัดทำ โครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” หนึ่งในคำถามของเกษตรกร โครงการเหล่านี้จับต้องได้แค่ไหน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้หรือไม่

วันนี้เราจะคุยรื่องนี้กันแบบชัดๆ

โครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2570) มีเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดโครงการสามารถสร้างสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูงด้านพืช แมลงเศรษฐกิจ และบริการเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งด้านปศุสัตว์ และด้านประมง ได้ไม่น้อยกว่า 500 ตำบล เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3เท่า ภายในปี 2570 สามารถลดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดได้ในระยะยาว กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเอง และสามารถขยายผลสู่เกษตรกรกลุ่มอื่นได้

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรในฐานะคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง 1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ด้านพืช แมลงเศรษฐกิจ และบริการเชิงสร้างสรรค์ ได้ประชุมชี้แจง และพิจารณาคัดเลือกพื้นที่และสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ได้จำนวน 84 กลุ่ม ที่มีศักยภาพ

แบ่งเป็น สินค้าที่ส่งเสริมและขับเคลื่อนโดยกรมส่งเสริมการเกษตร 46 กลุ่ม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ๕ กลุ่ม กรมการข้าว 32 กลุ่ม และกรมหม่อนไหม 1 กลุ่ม ประกอบด้วยสินค้า 16 ชนิดพืช จาก 82 ตำบล 77 อำเภอ 40 จังหวัด นำร่องดำเนินการพัฒนายกระดับและต่อยอดในปี 2567 โดยจัดอยู่ใน

กลุ่มที่ 1 กลุ่มสินค้าเกษตรมูลค่าสูงเพื่อส่งออก ที่มีการรวมกลุ่มกันผลิต รวมกลุ่มกันจำหน่าย และมีตลาดในต่างประเทศ จำนวน 83 กลุ่ม โดยมีแนวทางการขับเคลื่อน คือ พัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการส่งออก ขยายตลาดและขยายฐานการผลิตเพื่อการส่งออก สนับสนุนกลไกการรวบรวม การคัดบรรจุ การขนส่งเพื่อการส่งออก อำนวยความสะดวกการตรวจรับรองมาตรฐาน มาตรการทางภาษี การขนส่งสินค้าข้ามแดน และอื่น ๆ และจัดอยู่ใน

กลุ่มที่ 2 กลุ่มสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ที่มีการแปรรูปเป็นสินค้าที่มีตลาดภายในประเทศมีการจำหน่ายเป็นผลผลิตโดยตรงหรือมีการแปรรูป ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการจะส่งออกสูง จำนวน ๑ กลุ่ม โดยมีแนวทางการขับเคลื่อน คือ พัฒนากระบวนการผลิตและการแปรรูป โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับห่วงโซ่มูลค่าให้สูงขึ้น ส่งเสริมการผลิตอาหาร Future Food และ Function Food บูรณาการความร่วมมือกับสถานศึกษา เพื่อนำงานวิจัย สู่การถ่ายทอด และส่งเสริมการตลาดภายในประเทศทั้งออนไลน์ และออฟไลน์

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้บูรณาการแผนงานและงบประมาณ จัดทำโครงการสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง” ด้านพืช แมลงเศรษฐกิจ และบริการเชิงสร้างสรรค์ ปี 2567 ในส่วนของการขับเคลื่อนโดยกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 14 ชนิดพืชสินค้าเกษตรมูลค่าสูง จาก 46 กลุ่ม 46 ตำบล 42 อำเภอ 26 จังหวัด ได้แก่ กล้วยไม้ กาแฟ มะพร้าวน้ำหอม สับปะรด หน่อไม้ฝรั่ง ลำไย มะม่วง กล้วยหอม มังคุด ส้มโอ ลิ้นจี่ ทุเรียน และส้มเขียวหวาน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวในระดับพื้นที่(ตำบล) อย่างแท้จริง

messageImage 1725004862766

เกษตรกรจะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนแบบไหน กรมส่งเสริมการเกษตรจะส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาส วางแผนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ พัฒนาสินค้าให้ได้การรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร หรือมาตรฐานที่สูงขึ้น ตลอดจนเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับการผลิตของกลุ่มเกษตรกร เพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและบริการเชิงสร้างสรรค์ เชื่อมโยงตลาดและการตลาด (Market & Marketing) การบริหารงานและการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ในระดับพื้นที่และส่วนกลางในการขับเคลื่อนและพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เข้มแข็งตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล “ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ” อย่างยั่งยืน

เมื่อถามว่า….มีต้นแบบให้เรียนรู้ได้หรือไม่

แน่นอนครับ ….แต่ครั้งหน้านะครับ มาดูกัน มีพื้นที่ไหนบ้างที่ประสบความสำเร็จ