กรมข้าวใช้พันธุ์ “น้ำรู” ทำนาแบบขั้นบันไดสอนวิธีปลูกข้าวชาวบ้านในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ฯบ้านหนองห้า

872449
872459

“พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า บ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ถือเป็น 1 ในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริที่มีจำนวนทั้งหมด 5 แห่ง ประกอบด้วย

1) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านอุดมทรัพย์ อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร

2) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านหนองห้า อ.เชียงคำ จ.พะเยา

3) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยฟ้าห่มปก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

4.) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยดำ อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่

5) โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านห้วยหญ้าไซ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

872448

ในอดีตนั้นบ้านหนองห้า ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา มีสภาพพื้นที่เป็นป่าเสื่อมโทรม ผลจากถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อทำไร่เลื่อยนลอย บางส่วนของพื้นที่มีการปลูกพืชเสพติด รวมถึงมีปัญหาด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน ประกอบกับมีราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ได้เคยถวายฎีการ้องทุกข์ ขอพระราชทานความช่วยเหลือเรื่องที่ดินทํากินเป็นจํานวนมาก พระองค์จึงมีพระราชดําริที่จะให้ราษฎรเหล่านั้นว่าจะเข้ามาช่วยฟื้นฟูสภาพป่าเพื่ออนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลําธารในพื้นที่ดังกล่าวโดยจัดทําเป็นโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงก็จะมาให้การสนับสนุนการฝึกอบรมศิลปาชีพ และปลูกฝังความรู้ด้านการเกษตร การอนุรักษ์ ธรรมชาติแก่ราษฎร ที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างผสมกลมกลืน โดยคนเป็นผู้พิทักษ์รักษาป่าและป่าจะให้ความร่มเย็นเป็นแหล่งผลิตอาหารของคน

872450

นางสาวนาถอนงค์ ชนาทิพย์ หรือชาวชนเผ่ารู้จักในนาม นาฮือ จ๊ะจ๋า ราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่จาก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ที่ย้ายเข้ามาอาศัยในโครงการฯเป็นกลุ่มแรกเมื่อปี 2545 เป็น 1 ในจำนวน 12 ครอบครัวที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินจากทางการครอบครับละไม่เกิน 20 ไร่ โดยเธอบอกว่าเมื่อครั้งเข้ามาอยู่ใหม่เมื่อปี 2545 ไม่รู้จักวิธีการทำนาปลูกข้าว แต่หลังจากเจ้าหน้าที่จากกรมการข้าวได้เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการทำนา โดยใช้เป็นลักษณะทำนาแบบขั้นบันไดเพื่อเก็บกักน้ำไว้ เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขามีความลาดชัน ซึ่งต้องใช้เวลาปรับปรุงดินอยู่ประมาณ 5 ปี จึงเริ่มปลูกข้าวได้ โดยใช้ข้าวพันธุ์น้ำรู ซึ่งมีความเหมาะสมในการปลูกบนพื้นที่สูง หลังจากประสบความสำเร็จในการทำนา เธอก็ต่อยอดโดยการปลูกกาแฟ แล้วนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นเมล็ดกาแฟคั่ว กาแฟบดบรรจุถุง ภายในใต้ตราสัญลักษณ์กาแฟบ้านหนองห้า ในโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ

872452

“กรมการข้าวอยู่กับชุมชนอยู่กับชาวบ้านมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่ม ที่จริงพื้นที่นี่ไม่เหมาะสมในการทำนาปลูกข้าวมีก้อนหินผสมเยอะ น้ำมีไม่เพียงพอ เป็นปัญหาอุปสรรคในการทำนามาก กว่าจะปลูกได้ กรมการข้าวช่วยปรับปรุงดินให้เหมาะสมโดยเอาปุ๋ยพืชสดมาใส่ นำข้าวพันธุ์น้ำรูมาปลูกเมื่อก่อนต้องซื้อข้าวกินเอง ทางครอบครัวมีอาชีพรับจ้างหาเช้ากินค่ำ วันไหนไม่มีงานก็ไม่มีเงินซื้อข้าวให้กิน ตอนที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จมาเมื่อปี 2549 ท่านจะบอกชาวบ้านทุกคนที่เข้าเฝ้าว่า ป่ามีความสำคัญมากถ้าป่าสมบูรณ์ เราก็จะมีกินมีใช้ใปตลอด ถ้าพวกหนูรักพระองค์ท่านก็ให้ช่วยกันรักษาป่า”นางสาวนาถอนงค์ ชนาทิพย์กล่าวด้วยเสียงสั่นเครือพร้อมยกมือไหว้เหมือนชีวิตได้เกิดใหม่

872453

เช่นเดียวกัน นายสมบูรณ์ ชนะกุลกำพล ราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า จาก อ.เทิง จ.เชียงราย ซึ่งเข้ามาอยู่อาศัยในโครงการฯเป็นกลุ่มแรกเช่นกัน โดยครอบครัวเขาได้รับการจัดสรรที่ดินทั้งสิ้น 20 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็นปลูกข้าวทำนาแบบขั้นบันได จำนวน 5 ไร่ ส่วนอีก 15 ไร่ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ว่างเว้นจากทำนาก็มาปลูกพืชผักปลอดภัย ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ เช่นถั่วหลือง ถั่วเขียว เป็นต้น ปลูกหมุนเวียนกันไป แต่การทำเกษตรทุกอย่างจะไม่ใช่สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้นจะเน้นปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์

872454

“ตอนแรกที่เข้ามาพื้นที่แถบนี้เป็นภูเขาหัวดล้นทั้งหมด เราหกเมาช่วยหันปลูกป่า หลังไม้ที่ปลูกโตขึ้นก็มาปลูกกาแฟใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ กาแฟที่นี่รสชาติดีมากๆดีกว่าปลูกที่อื่น ๆ แม้จะเป้นพันธุ์เดียวกัน นอกจากทำนาปลูกกาแฟแล้วยังปลูกผัก หน้าหนาวจะปลูกสตรอเบอรี่ด้วย ”ราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า คนเดิมเผย

872455

ขณะที่ นายพิจิตร ขันคำ เจ้าหน้าที่ปฏิบัตงานโครงการพระราชดำริ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ซึ่งรับผิดชอบโครงการพระราชดำริในพื้นที่จ.พะเยา กล่าวว่า ตนได้เข้ามารับผิดชอบโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านหนองห้ามาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อปี 2545 และเข้ามาดูแลอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยนำข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองพันธุ์น้ำรูมาปลูก เนื่องจากมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศหลังได้นำมาทดสอบแล้วเป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีที่สุด เพื่อผลิตข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภคของชาวบ้านในพื้นที่โครงการฯ ซึ่งมีจำนวน 52 คนจากทั้งหมด 12 ครอบครัว ประกอบด้วย 4 ชนเผ่า ได้แก่ อาข่า 4 ครอบครัวลาหู่ 4 ครอบครัว เย้า 2 ครอบครัว และกะเหรี่ยง 2 ครอบครัว

872456



“กรมการข้าวโดยศูนย์เมล็ดข้าวพะเยาได้เข้าไปดําเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวแบบนาขั้นบันได จัดทําแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์น้ำ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการพร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้แบบยั่งยืน เรียนรู้วิธีขยายพันธุ์ข้าวบนพื้นที่สูงแก่เกษตรกร เพื่อจะได้ขยายผลไปสู่ชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป จุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้คือ เป็นข้าวไว่แสงอ่อน ๆ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล (ปานกลางระหว่าง 1,000-1400 เมตร เป็นข้าวเจ้าพันธุ์เดียวที่ปลูกในพื้นที่จ.พะเยา ช่วงแรก ๆให้ผลผลิตอยู่ที่ 80-90 กิโลกรัม/ไร่ ปัจจุบันผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 380-390 กิโลกรัม/ไร่”นายพิจิตร ขันคำ กล่าว

872451

ส่วนนายพรเทพ สีวันนา นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมการข้าว กล่าวถึงโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริว่าเป็นโครงการที่สมเด็จพระพันปีหลวงฯเคยมีพระกระแสรับสั่งว่า ในหลวงเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวพยายามสนับสนุน สืบทอดแนวพระปณิธาณของสมเด็จพระพันปีหลวง ที่จะสร้างความเข้มแข็ง โดยเฉพาะเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อยู่ตามพื้นที่สูงโดยจะไม่ส่งเสริมให้เขาลงมาใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ แต่จะสร้างความเข้มแข็งในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิม ให้เขามีพืชพันธุ์ธัญญาหาร ตลอดจนข้าวที่เป็นปัจจัยในการบริโภค และการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ให้มีความเข้มแข็งเพียงพอและพอมีพอกิน นอกจากนี้ยังได้พยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน ชุมชน โดยใช้ลูกหลานเกษตรกรในโครงการฯไปทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่หรือหมู่บ้านใกล้เคียงต่อไป
.

872457

“จุดเด่นของโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ของจังหวัดพะเยา มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้โครงการขับเคลื่อนได้ มีน้ำที่เพียงพอ มีอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกอันนี้เป็นปัจจัยหลักตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เราคงจะขยายเรื่ององค์ความรู้ตลอดเป็นนโยบายของทางกระทรวงรวมถึงกรมการข้าวเอง ที่จะสนับสนุนเครื่องมือ ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ให้เขามีใจ มีการผลิตที่เหมาะสมสามารถทันกับต่อโลกทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง” นายพรเทพ สีวันนา นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กรมการข้าว ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการพระราชดำริ “กรมการข้าว กล่าว
.

872458

ด้านนายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวถึงโครงการพระราชดำริในพื้นที่สูงว่า กรมการข้าวพร้อมสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่สูง ไม่ว่าจะเป็นโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่หรือ โครงการอื่น ๆ ในถิ่นทุรกันดารพยายามสนับสนุนโดยนำข้าวไร่ ข้าวเฉพาะถิ่น ไปให้พี่น้องในพื้นที่สูงได้มีข้าวไว้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน บางพื้นที่พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่สูง ลำบาก ข้าวไม่เพียงพอ “วันนี้กองงานพระราชดำริได้ระดมคน ช่วยกันจุดไหนที่เป็นข้อบกพร่อง จุดไหนที่พี่น้องเกษตรกรยังเข้าไม่ถึงเมล็ดพันธุ์ดี เราก็จะเข้าไปช่วยกัน ก็ฝากพี่น้องสื่อมวลชนได้ประชาสัมพันธ์ กรมการข้าวพร้อมแล้ว พร้อมจะอำนวยความสะดวกให้พี่น้องเกษตรกรทุกที่โดยผ่านศูนย์ข้าวชุมชน และกลุ่มนาแปลงใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ อุปกรณ์ นวัตกรรมต่าง ๆ กรมการข้าวจะสนับสนุนพี่น้องเกษตรกรอย่างเต็มที่”อธิบดีกรมการข้าวกล่าวย้ำทิ้งท้าย


.


.