อนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา ปลาหมอคางดำ บุกกรมประมงหาหลักฐานต้นตอ

S 12886129

นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล นำทีมคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เดินทางมาที่กรมประมง ติดตามหลักฐานกรณีมีบริษัทเอกขนแห่งหนึ่ง นำเข้า “ปลาหมอคางดำ”โดยมี นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง​และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ พร้อมชี้แจงรายละเอียด โดยเจ้าหน้าที่ได้นำ “ครีบ” และ “ชิ้นเนื้อ” ปลาหมอคางดำที่พบในบ่อพักน้ำยี่สาร ในฟาร์มวิจัยของบริษัทเอกชน เมื่อปี 2560 มาโชว์ให้ อนุกรรมธิการ.ดู จากผลการตรวจสอบพบว่าปลาหมอคางดำที่ระบาดในปี 60 มีภาวะเลือดชิด “ดีเอ็นเอ” ใกล้เคียงกับปลาหมอคางดำที่พบในบ่อพักน้ำยี่สาร และที่ระบาดในปัจจุบัน

240291

นายแพทย์วาโย กล่าวว่า จากการตรวจสอบตามที่บริษัทดังกล่าวอ้างมานั้น ยืนยันไม่พบโหลปลาหมอคางดำแต่อย่างใด ตอนนี้เหลือจิ๊กซอตัวสุดท้าย คือ ถ้ามีครีบของเมื่อปี 53-54 ก็จะคลายความสงสัยไปได้ ส่วนกรมประมงได้รับหรือไม่ เมื่อกางเอกสารออกมาดูพบว่าไม่ได้รับตัวอย่าง DNA แต่อย่างไรก็ตาม แต่เพื่อความเป็นธรรม ได้เชิญ เอกชนมาชี้แจงในวันพฤหัสบดี 25 ก.ค.ซึ่งตนได้ทำหนังสือให้นำเอกสารที่อ้างว่ามีการนำส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำมาด้วย เพื่อจะได้รู้ว่ามีการส่งวันไหน ให้ใคร เจ้าหน้าที่คนไหนเป็นผู้รับ เพราะกรมประมงยืนยันจากเอกสารและหลักฐานที่ห้องปฏิบัติการแล้วว่าไม่ได้มีการรับตัวอย่าง

240294

อย่างไรก็ตามทางอนุกรรมธิการฯได้ขอดูเอกสารรายการทะเบียนการเก็บตัวอย่างซากปลา (สมุดคุม) ซึ่งกรมประมงนำมาให้ดูตั้งแต่ปี 51-56 โดยทางกรมยืนยันว่าไม่ได้มีการส่งครีบปลามาให้ และกรมประมงเองยังมีเอกสารเมื่อเดือน เม.ย. 53 แจ้งให้บริษัทเอกชนส่งครีบปลาตัวอย่างมาที่กรมด้วย แต่ก็ไม่มีการนำส่งรวมทั้งรายงานความคืบหน้าของการวิจัย ก็ยังไม่เห็น และทั้งหมดจะต้องไปดูย้อนหลังว่ามีมีการขอเลี้ยงมีการเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อปูน เพราะหากเลี้ยงในบ่อดินมีการสูบน้ำเข้าออก ปลาหมอคางดำอาจจะมีการหลุดออกไปได้ ส่วนการตรวจสอบดีเอ็นเอสามารถทำได้ แต่ต้องได้กระดูกมาก่อน ซึ่งอาจจะลงไปดูพื้นที่ ๆด้วยเพื่อให้เกิดความชัดเจน

240296

นพ.วาโย บอกอีกว่าทางคณะกรรมาธิการได้ขอเอกสารกรมประมง ประกอบด้วย 1.รายงานการขอและอนุญาตให้บริษัทเอกชนนำเข้าปลาหมอคางดำจากนอกราชอาณาจักรเพื่อครอบครองและเพาะเลี้ยงแบบมีเงื่อนไข 2.รายงานการประชุมคณะกรรมการระดับสถาบันด้านความปลอดภัยและความหลากหลายทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) 3.เอกสารรายชื่อบริษัทที่ยื่นขออนุญาตเพื่อการส่งออกพันธุ์ปลาออกนอกราชอาณาจักรไทย เมื่อปี 2553-2559

240293


และกรมประมงแจ้งว่า บริษัทส่งออกได้จ้างบริษัทชิปปิ้ง ทำเอกสารในการส่งออกว่าเป็น ปลาหมอเทศข้างลาย แท้จริงเป็นปลาหมอคางดำ แต่สิ่งที่กรมประมงตอบได้ไม่กระจ่าง คือ กรมเริ่มทำงานอย่างจริงจังในปี 2560 หลังเกิดการระบาดแล้ว ซึ่งกรมประมงชี้แจงว่า อำนาจหน้าที่ไม่มีตามกฎหมาย มาตรา 54 ให้อำนาจแค่อนุญาตเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจไปไล่บี้เอาผิดบริษัทเอกชน แต่พอมีการแก้กฎหมายในปี 2560 กรมประมงก็ทำตามหน้าที่

240294 1
240295
240298
240299