เปิดคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ปมปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ชี้ให้ก.ทรัพย์ฯปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานและหากมีประชาชนอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่อุทยานฯ ให้กรมอุทยานฯแก้ไขปัญหาโดยอนุญาตให้ประชาชนอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ได้

449439147 1032693815522496 6269709467077881553 n

คำวินิจฉัยฯมีทั้งสิ้น 19 หน้า สรุปได้ดังนี้

สืบเนื่องจากมีผู้แจ้งและผู้ร้องเรียนเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2562 โดยมีผู้ถูกร้องเรียน ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษหรกรรม (ส.ป.ก.)

ประเด็นเรื่องร้องเรียน ร้องเรียนกรณีปัญหาการถือครองที่ดินของราษฎรในอำเภอวังน้ำเขียว อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งราษฎรบางส่วนมีเอกสารหลักฐานสำหรับที่ดิน เช่น ส.ค.๑, น.ส. ๓ ก., โฉนดที่ดิน, ส.ป.ก. ๔-๐๑ และ ส.ท.ก. แต่ถูกกล่าวหาว่าพื้นที่ดังกล่าวทับซ้อนกับป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาภูหลวง เขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (โซน C) และอุทยานแห่งชาติทับลาน และการดำเนินการแก้ไขปัญหาทับซ้อนกันของพื้นที่ตังกล่าวไม่มีความคืบหน้า เป็นเหตุให้ราษฎรในพื้นที่ได้รับความเสียหายนั้น

S 60907579

ในตอนท้าย ข้อ ๗ คำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน มีดังนี้

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนกันของพื้นที่ด้วยการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานให้โครงการต่างๆ ของรัฐสามารถดำเนินการเป็นไปตามเป้าประสงค์ สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน และเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยการปรึกษาหารือและเห็นขอบร่วมกันตามมาตรา ๒๖ (๓) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา๓๓ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการบรับปรุงกฎหมาย กฎ คำสั่ง และขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน ดังต่อไปนี้

๗.๑ กรณีการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนกันของพื้นที่ มีข้อเสนอแนะให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๗ แห่งพระราขบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕’๖๒ และให้ยึดถือแนวเขตตามที่ได้ดำเนินการสำรวจรังวัดร่วมกันมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓

๗.๒ ภายหลังการดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ตามข้อ ๗.๑ แล้ว เพื่อให้โครงการต่าง ๆ ของรัฐสามารถดำเนินการเป็นไปตามเป้าประสงค์ ประกอบกับเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่อยู่อาศัยทำกินมาก่อนการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จึงให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการในแต่ละพื้นที่ ดังนี้

๗.๒.๑ บริเวณพื้นที่ที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน หากมีประชาชนอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ดังกล่าว ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืซ ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการพิจารณาอนุญาตให้ประชาชนอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ ตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบแนวทางของมติคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เรื่อง พื้นที่เป้าหมายและกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท)

๗.๒.๒ บริเวณพื้นที่ที่ถูกกันออกหรือเพิกถอนจากเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการในแต่ละพื้นที่ ดังนี้

๗.๒.๒.๑ บริเวณพื้นที่บำวังน้ำเขียวแปลง ๒ ในส่วนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโดน

(๑) ให้กรมป่าไม้ ดำเนินการดังนี้

  • รายงานเหตุผลและความจำเป็นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อออกกฎกระทรวงยกเลิกเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณดังกล่าว
  • รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้มีมติยกเลิกพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (ป่าโซน C ) ในพื้นที่บริเวณดังกล่าว
  • จากนั้นให้ส่งมอบพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

(๒) หลังดำเนินการรับมอบพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการจัดที่ดินบริเวณดังกล่าวให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยทำกินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ครบถ้วน

๗.๒.๒.๒ บริเวณที่ดินทำกินของราษฎรที่อยู่อาศัยมาแต่เดิม

เนื่องจากพื้นที่บางส่วนมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่บางส่วนยังมีสถานะเป็นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (ป่าโซน c) ร่วมอยู่ด้วย

กรณีพื้นที่ดังกล่าวมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

(๑) ให้ กรมป่าไม้ ดำเนินการดังนี้

-รายงานเหตุผลและความจำเป็นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อออกกฎกระทรวงยกเลิกเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณดังกล่าว

-จากนั้นให้ส่งมอบพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

๒) หลังดำเนินการรับมอบพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการจัดที่ดินบริเวณดังกล่าวให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยทำกินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ครบถ้วน

กรณีพื้นที่ดังกล่าวถูกจำแนกให้เป็นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (ป่าโซนc ) ร่วมอยู่ด้วย

(๑) ให้ กรมป่าไม้ ดำเนินการดังนี้

  • รายงนเหตุผลและความจำเป็นไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวล้อม เพื่อออกกฎกระทรวงยกเลิกเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณดังกล่าว
  • รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้มีมติยกเลิกพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (ป่โซน C) ในพื้นที่บริเวณดังกล่าว
  • จากนั้นให้ส่งมอบพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

(๒) หลังดำเนินการรับมอบพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการจัดที่ดินบริเวณดังกล่าวให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยทำกินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ครบถ้วน

กรณีพื้นที่ที่ไม่มีสถานะเป็นป่าตามกฎหมาย ให้ ส.ป.ก. ตำเนินการจัดที่ดินบริเวณตังกล่าวให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยทำกินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ครบถ้วน

๗.๒.๒.๓ บริเวณพื้นที่โครงการ พมพ. แสะโครงการ คจก.

เนื่องจากพื้นที่โครงการดังกล่าวยังคงมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติ อีกทั้งยังมีสถานะเป็นพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (ป่าโซน c) ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของทั้งสองโครงการที่จะให้ประชาชนได้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินในพื้นที่บริเวณดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

(๑) ให้กรมป่าไม้

-รายงานเหตุผลและความจำเป็นไปยัง รมว.กระหรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวตล้อมเพื่อออกกฎกระทรวงยกเลิกเขตป่าสงวนแห่งชาติบริเวณโครงการดังกล่าว รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีให้มีมติยกเลิกพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (ป่าโซนc)ในพื้นที่บริเวณโครงการดังกล่าว

จากนั้นให้ส่งมอบพื้นที่บริเวณโครงการตังกล่าวให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

๒) หลังดำเนินการรับมอบพื้นที่ดังกล่าวแล้ว ไห้ ส.ป.ก. ดำเนินการจัดที่ดินบริเวณโครงการดังกล่าวให้ประชาซนเข้าอยู่อาศัยทำกินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ครบถ้วน

ในการนี้ ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะข้างต้นให้แล้วเสร็จภายใน ๑๒๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการวินิจฉัย แล้วรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทราบ หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อเสนอแนะได้ ให้แจ้งต่อผู้ตรวจการแผ่นดินหราบก่อนพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว