งานมหกรรมสินค้าเกษตร เกษตรพาเที่ยว พากิน @ลานคนเมือง ศาลาว่าการ กทม. 26 – 30 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. – 21.00 น. ไฮไลต์ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

ป้ายโปรโมทงานเชิญชวนให้คนไปร่วมงาน งานมหกรรมสินค้าเกษตร เกษตรพาเที่ยว พากิน @ลานคนเมือง 26 – 30 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00 น. – 21.00 น. ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เนื้อละเอียดเนียนนุ่ม กรอบนอกนุ่มใน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หวานมันกำลังพอดี กลิ่นหอมอ่อน ผลิตในระบบอินทรีย์

ความสนใจอยากรู้เลยสอบถามไปยังกรมวิชาการเกษตร มีข้อมูลที่น่าสนใจมาเล่าสู่ทุกท่านได้อ่านกัน

S 7077892

เกษตรกรในรูปเป็นใครมาจากไหน นางปราณี จันหอม เป็นเกษตรกรต้นแบบจากโครงการ 76 โมเดล 76 จังหวัดการผลิตสินค้าเกษตรอย่างปลอดภัยมูลค่าสูงมาตรฐาน GAP “ทุเรียนภูเขาไฟ Gl ศรีสะเกษ” แต่ทีเด็ดคือ ทุเรียนภูเขาไฟอินทรีย์

จุดเด่นของเกษตรกร “มุ่งมั่น ใส่ใจ เรียนรู้ พัฒนาต่อยอด” ต้นแบบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนแบบอินทรีย์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ดินภูเขาไฟจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต ได้ผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในแปลงและผู้บริโภค

GI

ต้นแบบการผลิตทุเรียน GAP ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากศัตรูพืชและสารพิษตกค้างในผลผลิต โดยใช้แนวคิด“ใส่ใจทุเรียนทุกต้น ทำแปลงให้สะอาด ผู้บริโภคเปรียบเสมือนคนในครอบครัว”

gap

ต้นแบบเกษตรกรนักการตลาดโดยใช้แนวคิด “การผลิตนำการตลาด” โดยเกษตรกรสามารถตั้งราคาจำหน่ายผลผลิตเองได้ โดยจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 200 บาท

S 7077906

ต้นแบบแปลงศูนย์การเรียนรู้การปลูกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษแบบอินทรีย์ ให้เกษตรกรเครือข่าย เกษตรกรทั่วไป หน่วยงานราชการ เอกชน ตลอดจนนักท่องเที่ยว ได้ศึกษาดูงาน

S 7077908

จุดเริ่มต้น นางปราณี จันหอม เดิมมีอาชีพหลักคือ ปลูกยางพารา ซึ่งในปี 2558 ยางพาราเริ่มมีราคาตกต่ำจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนพืชปลูกอื่น ซึ่งพืชที่เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ คือพืชทุเรียน จึงมีความคิดที่อยากทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ ที่สามารถสร้างรายได้ ทั้งรายวัน รายเดือนและรายปี เกษตรกรมีพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ปลูกทุเรียน 9 ไร่ พื้นที่ที่เหลือปลูกไผ่ ฝรั่ง ขุดสระ สร้างที่อยู่อาศัย แรกเริ่มศึกษาหาความรู้จากการเข้าร่วมฝึกอบรมจากศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ฯ หน่วยงานราชการอื่นๆ สื่อออนไลน์ต่างๆ แล้วนำมาทดลอง ปรับใช้ในแปลงของตัวเองโดยมีแนวคิดที่ว่า “ผลิตทุเรียน ไร้สารพิษ” เกษตรกรเน้นการผลิตแบบพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งปัจจัยการผลิตภายนอกแปลง โดยการเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์ Af (แอฟริกัน ไนท์คลอเลอร์) เพื่อนำมูลไส้เดือนมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดิน และทำน้ำหมักปลาใช้เพื่อทดแทนอาหารเสริมและฮอร์โมน ช่วยบำรุงลำต้นและใบให้แข็งแรงโดยใช้แนวคิด ถ้าต้นพืชแข็งแรง โรคแมลงก็จะไม่มี

S 7077909

ความมุ่งมั่นบวกกับโอกาส ที่เหมาะสมในช่วงที่นายธวัช สุระบาล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ส่งเสริมให้มีการปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวศรีสะเกษและทำให้ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษเป็นที่รู้จัก ดังนั้นเกษตรกรจึงตัดสินใจโค่นยางพารา เพื่อปลูกทุเรียนและเริ่มปลูกทุเรียนในปี พ.ศ. 2559 พื้นที่ 9 ไร่ จำนวน 252 ต้น

การเข้าสู่มาตรฐาน GAP นางปราณี มีความสนใจศึกษาช่องทางการตลาดทุเรียน จึงเห็นความสำคัญของการได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เน้นการผลิตทุเรียนให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด ในปี พ.ศ 2563 จึงยื่นขอการรับรองมาตรฐาน GAP และได้รับการรับรองในปี พ.ศ. 2564 ชนิดพืชทุเรียน พื้นที่การรับรอง 9 ไร่ ขณะเดียวกันได้รับใบอนุญาตสิทธิบัตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือสินค้า GI ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

S 7077910

ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

ความเป็นมาของทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ คือ ทุเรียนที่ปลูกในพื้นที่ภูเขาไฟโบราณ แถบเทือกเขาพนมดงรักเฉพาะพื้นที่ 3 อำเภอได้แก่ อ.กันทรลักษ์ อ.ขุนหาญ และอ.ศรีรัตนะ ซึ่งได้รับใบอนุญาตสิทธิบัตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือสินค้า GI ดินภูเขาไฟเป็นดินที่ผุพังมาจากหินบะซอลต์ ดินจึงมีลักษณะเหนียว สีแดง ระบายน้ำได้ดีมาก มีธาตุอาหารชนิดต่างๆที่จำเป็นต่อพืชในปริมาณที่สูง และเกษตรกรใช้น้ำใต้ดินที่มีความลึก 50-100 เมตร ในการผลิตจึงส่งผลให้ได้รับแร่ธาตุครบถ้วน

S 7077911

นอกจากนั้นด้วยลักษณะสภาพภูมิอากาศที่ไม่ชื้นจนเกินไป แสงแดดมีความเข้มแสงสูง และพืชได้รับแสงต่อวันที่ยาวนาน ทุเรียนจึงดูดธาตุอาหารจากดินมาช่วงสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผลผลิตที่ได้จึงมีรสชาติดี เกิดเป็นทุเรียนที่มีคุณสมบัติเฉพาะ กล่าวคือ เนื้อทุเรียนแห้ง เหนียวนุ่ม เส้นใยละเอียด มีกลิ่นหอมเฉพาะไม่ฉุนมาก รสชาติมัน ค่อนข้างหวาน ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคทุเรียนทั้งภายในและภายนอกประเทศ จึงกล่าวได้ว่า “ ทุเรียนศรีสะเกษ เป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศไทย”

26-30 มิถุนายนนี้ ไปพิสูจน์ทุเรียนภูเขาไฟของแท้ ๆ เจ้าของสวนมาเอง ที่ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร