กรมส่งเสริมการเกษตร ดันทักษะ 5 ด้าน พัฒนา Young Smart Farmer สู่ผู้ประกอบการเกษตรเชิงนวัตกรรมรุ่นใหม่

1 อธส
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า Young Smart Farmer ถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาภาคเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เกิดผลสำเร็จ ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” จึงเพิ่มเป้าหมายงานส่งเสริมการเกษตรต่อเกษตรกร ให้สามารถผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง สร้างรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกษตรกรรุ่นใหม่สามารถทำการเกษตรอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการเสริมทักษะ 5 ด้าน ช่วยพัฒนา Young Smart Farmer สู่ผู้ประกอบการเกษตรเชิงนวัตกรรมรุ่นใหม่ ดังนี้

6

1.Growth Mind Set & Anti Fragile คือ มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ ความพยายาม และการฝึกฝน และเมื่อล้มเหลวจะพยายามมากขึ้น และความสามารถในการต้านทานความเปราะบาง ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญต่อธุรกิจ บุคคลที่อยากมีความก้าวหน้าในโลกที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงง่าย ทักษะนี้จะช่วยให้เกษตรกรรับมือกับเหตุการณ์ผิดปกติและคาดเดาไม่ได้อย่างเป็นมืออาชีพมากขึ้น

5

2.Learning Skills คือ สามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินสถานการณ์ และคิดอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างไอเดียใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ และการใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อแก้ไขปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีม การสื่อสาร การแบ่งหน้าที่ การแก้ไขข้อขัดแย้ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

4

3.Financial Literacy คือ ความสามารถที่จะเข้าใจและกระจายความเสี่ยงทางการเงิน การปรับแผนการผลิตการตลาดในสภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย การจัดสรรเงินก่อนใช้จ่าย การบริหารการเงิน ทัศนคติการเป็นหนี้ การชำระหนี้แบบต่าง ๆ และการใช้จ่ายเงินที่เหมาะสม

3

4.Digital Literacy คือ ความสามารถในการเข้าใจ เข้าถึง และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.ESG Environment Social Governance Literacy for Resilience: Environment Social Governance หรือ ความรู้ ความตระหนักความเข้าใจถึงการกระทำต่างๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งบวกและลบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิบัติตนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Skills) ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต (เกษตรกร) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน

2 2

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน มีเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Young Smart Farmer จำนวน 27,449 ราย และผ่านการประเมินคุณสมบัติเป็น Young Smart Farmer จำนวน 23,412 ราย ทั่วประเทศ กรมส่งเสริมการเกษตรจึงจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรเชิงนวัตกรรมรุ่นใหม่ ระหว่างวันที่ 12 – 15 พฤษภาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ให้แก่ Young Smart Farmer จำนวน 80 ราย เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์และปรับเปลี่ยนแนวคิดของ Young Smart Farmer จากการเป็นผู้ผลิตทางการเกษตรให้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ส่งเสริม Young Smart Farmer ให้เข้าถึงองค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจเกษตร เกิดแนวคิดในการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าและตลาด สามารถพัฒนาธุรกิจด้านการเกษตรให้เป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้ ตลอดจนสนับสนุนให้ Young Smart Farmer มีแผนธุรกิจเกษตรของตนเองที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด ปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจเกษตรให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทักษะเกษตรกรรุ่นใหม่ให้สามารถใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ด้านพืช (Plant Science) เทคโนโลยีชีวภาพ (Bio Technology) และเทคโนโลยีหมุนเวียน (Circular Technology) เตรียมพร้อมเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

7
8