สศท.4 ติดตาม โครงการยกระดับแปลงใหญ่ข้าว จ.ร้อยเอ็ด นำเครื่องจักรกลการเกษตรบริหารจัดการแปลงอย่างยั่งยืน

ผอ.สศท.4
นายนพดล ศรีพันธุ์ ผอ.สศท.4

นายนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ขอนแก่น (สศท.4) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด สินค้าข้าวจังหวัดร้อยเอ็ด ปีงบประมาณ 67ซึ่งมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโดยเน้นการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า และการบริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีแปลงใหญ่ข้าวที่ได้รับการส่งเสริมอุปกรณ์/เครื่องจักรกลการเกษตรภายใต้โครงการ ทั้งหมด 118 แปลง 

S 65445989 0 0

สศท.4 ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มตัวอย่างแปลงใหญ่ข้าวจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 แปลง ซึ่งเกษตรกรเพาะปลูกข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105 เพาะปลูกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน และเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวได้เข้าร่วมโครงการปี 2564 และได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีอุปกรณ์เพื่อใช้ในกระบวนการผลิต อาทิ รถแทรคเตอร์พร้อมอุปกรณ์ เครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ โดรน และรถเกี่ยวนวดข้าว ซึ่งจากการติดตามปีเพาะปลูก 2566/67 เปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ ปีเพาะปลูก 2563/64 พบว่า เกษตรกรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแปลงใหญ่ 5 ด้านที่สำคัญ ดังนี้

S 65445995 0 0

ด้านลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรนำเครื่องจักรกลการเกษตรที่ได้รับการสนับสนุนมาใช้บริหารจัดการในแปลง ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนจากการจ้างแรงงาน และกลุ่มแปลงใหญ่มีค่าจ้างเครื่องจักรในราคาสมาชิก ลดการจ้างแรงงานเอกชนในพื้นที่ที่มีค่าจ้างสูง สามารถลดต้นทุนการผลิตได้อยู่ที่ 3,220 บาท/ไร่/ปี จากก่อนเข้าร่วมโครงการมีต้นทุนเฉลี่ย 3,492 บาท/ไร่/ปี หรือ ลดลงร้อยละ 8

S 65445969 0 0

ด้านการเพิ่มผลผลิต เกษตรกรมีเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่เข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิต อาทิ รถเกี่ยวข้าวช่วยด้านการเก็บเกี่ยวข้าวที่ประณีตขึ้น การใช้รถแทรกเตอร์ในการเตรียมดินเพื่อลดค่าใช้จ่ายลงเมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างภาคเอกชน ช่วยลดค่าแรงงาน รวมถึงค่าสารเคมีในการทำเกษตร สามารถเพิ่มผลผลิตได้ 399 กิโลกรัม/ไร่/ปี จากก่อนเข้าร่วมโครงการ มีผลผลิตเฉลี่ย 381 กิโลกรัม/ไร่/ปี หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

S 65445987 0 0

ด้านการพัฒนาคุณภาพการผลิต ผลผลิตผ่านการรับรองมาตรฐานสินค้า เช่น มาตรฐาน GAP มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น

ด้านการเชื่อมโยงตลาด เกษตรกรมีตลาดเพื่อรับซื้อผลผลิตทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายโรงสี ร้อยละ 78 รองลงมาจำหน่ายสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 20 และจำหน่ายตลาดกลาง ธกส. ร้อยละ 2

S 65445992 0 0

และด้านการบริหารจัดการ กลุ่มมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เกษตรกรมีการจัดทำบัญชี โดยกลุ่มมีความสามารถในการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายเองจากการอบรมส่งเสริมของหน่วยงาน

S 65445963 0 0

นอกจากนี้ กลุ่มมีการบริหารจัดการเครื่องมือ/เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เหมาะสม มีแนวทางการจัดลำดับคิวที่ชัดเจน และมีการกำหนดค่าบริการเครื่องจักรให้แก่สมาชิกได้ถูกกว่าท้องตลาด และกลุ่มแปลงใหญ่ ร้อยละ 90 มีการขยายการให้บริการเครื่องมือ/เครื่องจักรกลทางการเกษตรไปสู่เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าว และมันสำปะหลัง ซึ่งสร้างกำไรจากการนำเครื่องจักรไปบริการเกษตรกรอื่นนอกกลุ่มเฉลี่ย 30,840 บาท/แปลง                                                                                                              

S 65445964 0 0

“ภาพรวมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการเป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงการดังกล่าว ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยในระยะต่อไปควรให้ขยายผลการบริการเครื่องจักรกลไปยังแปลงใกล้เคียงมากขึ้นเพื่อให้เกิดการใช้งานเครื่องจักรตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้กลุ่ม และเพื่อให้เกษตรกรทั่วไปสามารถเข้าถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้นอาทิ โดรนเพื่อฉีดพ่นสารเคมี/ชีวภาพ สามารถลดค่าจ้างแรงงาน ลดเวลาในการบริหารจัดการแปลง และเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์ เพื่อทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ ลดสิ่งเจือปนก่อนการปลูก

S 65445968 0 0

ทั้งนี้ หากท่านใดสนใจข้อมูลเชิงลึกผลการติดตามโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด สินค้าข้าวจังหวัดร้อยเอ็ด ปีงบประมาณ 2567 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.4 โทร 0 4326 1513 หรืออีเมล [email protected]” ผู้อำนวยการ สศท. 4 กล่าวทิ้งท้าย

S 65445961 0 0
S 65445945 0 0
S 65445958 0 0
S 65445943 0 0
S 65445947 0 0