นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลฯ เตรียมขยายผลการทำนาแบบใช้น้ำน้อยหรือ”การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง’ ซึ่งเป็นผลงานที่กรมชลประทาน ได้วิจัยและนำเสนอต่อที่ประชุมชลประทานโลกครั้งที่ 2 และได้รับรางวัล WatSave Awards ในปี 2559 นำไปสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของไทยและของโลก
“โดยแนวทางการส่งเสริมการทำนาเปียกสลับแห้งเป็นการประหยัดน้ำและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามนโยบาย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่นำแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาใช้เป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรโดยนำเอาความรู้และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตร หรือที่เรียกว่า “ทำน้อย แต่ได้มาก” ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสามารถลดการใช้น้ำ ลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกรได้อีกด้วย”