กรมปศุสัตว์ ส่งเสริมลดต้นทุนการผลิตปศุสัตว์ ลดต้นทุนอาหารสัตว์เพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

ภาพปศ1
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์
ภาพปศ7

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วิกฤติวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาสูงขึ้น สาเหตุจากเหตุการณ์สู้รบระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรภาคปศุสัตว์เป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลจึงมีนโยบายในการหาแนวทางเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศไทย ซึ่งกำลังประสบกับปัญหาต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จากกลไกการตลาดของราคาอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่ายงานราชการวางแผนกำหนดโครงการฯ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจากปัญหาที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสร้างความมั่นคงต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ซึ่งกรมปศุสัตว์ก็ตอบสนองนโยบายรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถ โดยสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ มีการส่งเสริมการลดต้นทุนอาหารสัตว์ ในด้านการผลิตพืชอาหารสัตว์ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารสัตว์ การส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพผลิตพืชอาหารสัตว์ การให้บริการเครื่องจักรกลอาหารสัตว์ และการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์

ภาพปศ2

ประกอบด้วย (1) กิจกรรมการขยายพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ การผลิตเมล็ดพันธุ์ 57.3 ตัน และผลิตท่อนพันธุ์ 3,500 ตัน เพื่อจำหน่ายและสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ สำหรับลดต้นทุนค่าอาหารหยาบแก่เกษตรกร โดยเมล็ดพันธุ์ขยายพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น 28,000 ไร่ และท่อนพันธุ์ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 7,000 ไร่ (2) กิจกรรมฟาร์มต้นแบบลดต้นทุนอาหารสัตว์ โดยการจัดทำฟาร์มสาธิต มีเป้าหมาย จำนวน 150 ฟาร์ม โดยมีฟาร์มนำร่อง ได้แก่ สหกรณ์โคนมนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู และสหกรณ์โคนมวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร พร้อมให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนอาหาร โดยมีเป้าหมายให้คำแนะนำเกษตรกร จำนวน 4,100 ราย (3) ส่งเสริมการผลิตพืชอาหารสัตว์ โดยการสร้างอาชีพผลิตพืชอาหารสัตว์ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรประกอบอาชีพผลิตท่อนพันธุ์และเสบียงสัตว์จำหน่าย และเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่มีความประสงค์ปลูกสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์ใช้ท่อนพันธุ์ และเสบียงสัตว์คุณภาพดี สำหรับลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์

ภาพปศ3

(4) บริการผลิตอาหาร TMR เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกร ซึ่งเกษตรกรจะมีอาหาร TMR ในราคาต่ำ และมีคุณภาพเหมาสมกับช่วงระยะการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (5) บริการเครื่องจักรกลอาหารสัตว์ (Motor pool) โดยการสนับสนุนเครื่องจักรกลอาหารสัตว์และอุปกรณ์ในการเก็บรวบรวมการผลิตมาใช้เป็นอาหารสัตว์ ให้กลุ่มเกษตรกรเพื่อลดต้นทุนการผลิต และ (6) บริการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำผลวิเคราะห์ไปใช้ได้ตรงตามความต้องการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ภาพปศ4

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการของกรมปศุสัตว์ดังกล่าว เกษตรกรจะได้รับประโยชน์มากมาย โดยได้รับการสนับสนุน หรือซื้อเมล็ดพันธุ์ และท่อนพันธุ์พืชอาหารสัตว์คุณภาพดีจากกรมปศุสัตว์ เพื่อนำไปลูกสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์ ช่วยลดต้นทุนการผลิตอาหารหยาบคุณภาพดี ได้รับคำแนะนำในการจัดการด้านอาหารสัตว์ โดยหน่วยFMMU เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ได้รับอาหาร TMR ที่หน่วยงานในสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ผลิตเพื่อจำหน่าย ในราคาต่ำ และคุณภาพตรงตามความต้องการโภชนะของสัตว์แต่ละช่วงวัย สามารถใช้บริการยืมเครื่องจักรกลอาหารสัตว์ ในการผลิตหรือเก็บเกี่ยว เพื่อช่วยลดแรงงานและ ประหยัดเวลาในการดำเนินงาน และสามารถใช้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารสัตว์ เพื่อนำผลวิเคราะห์ไปใช้ตรงตามความต้องการของโภชนะ

ภาพปศ5
ภาพปศ6
ภาพปศ8
ภาพปศ9
ภาพปศ10