เปิดกติกาส่งออก”โค-กระบือ” ไป”มาเลเซีย”หลังไฟเขียวให้นำเข้า

เปิดขั้นตอนและกติกา หลังรัฐบาลมาเลเซียไฟเขียว อนุมัติให้นำเข้าโคมากกว่า 12,000 ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศไทย เพื่อให้เพียงพอสำหรับความต้องการภายในประเทศ หลังระงับมาเกือบปี

ย้อนไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 กรมบริการสัตวแพทย์(VSD)ของมาเลเซีย ระงับการนำเข้าสัตว์เคี้ยวเอื้อง(โค-กระบือ)จากประเทศไทย โดยมีผลทันทีหลังจากประเมินความเสี่ยงของโรคในสัตว์กว่า 41 จังหวัดในประเทศไทย 

จากนั้นการประชุมสภาได้มีการอภิปราย จนนำไปสู่การปรับปรุงกฎระเบียบและขั้นตอนการนำเข้าหลายรายการ กระทั่งกรมบริการสัตวแพทย์(VSD)ได้ยกเลิกการแบนการนำเข้าจากไทยเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา 

จากสถิติพบว่า ในปี 2564 มาเลเซียนำเข้าโค 12,405 ตัวจากประเทศไทย ลดลงเพียงเล็กน้อยจากปี2563 ที่นำเข้า 12,553 ตัว

ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์โค-กระบือ และผู้ประกอบการส่งออก ควรศึกษาข้อมูลการส่งออกไปยังมาเลเซียให้ละเอียด เพื่อดำเนินการได้ถูกต้องและถูกกฎหมายของมาเลเซีย 

C2F0420E 7D8A 456F 9E1B 0E0069BCDEDF

เงื่อนไขการส่งออกโคมีชีวิต (เข้าโรงฆ่าจากประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซีย

1. ชนิดสัตว์ Types of animals : โค-กระบือ (Cattle, Buffalo)

2. ประเทศที่ส่งออก Country of Export : ประเทศไทย (Thailand)

3. วัตถุประสงค์ Purpose: เข้าโรงฆ่า (Slaughter)

4. เงื่อนไข (Regulation for Importation)

ใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit)

การส่งออกโคกระบือไปยังมาเลเซียต้องมาพร้อมกับใบอนุญาตนำเข้าที่ถูกต้องซึ่งออกโดยแผนกกักกันสัตว์ของมาเลเซีย

รายละเอียดของสัตว์ (Description of animals)

สัตว์แต่ละตัวจะต้องติดเบอร์หู (Ear tag) เพื่อระบุหมายเลขประจำตัวสัตว์และสามารถติดตามตรวจสอบย้อนกลับได้ก่อนการส่งออก

ใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Veterinary Health Certificate)

การส่งออกสัตว์จะต้องแนบใบรับรองสุขภาพสัตว์เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ผู้มีอำนาจลงนามของกรมปศุสัตว์ (DLD) ประเทศไทยภายใน 10 วันของการส่งออก โดยให้คำอธิบายเกี่ยวกับ (อายุ, สายพันธุ์,เพศ,จำนวน,หมายเลขประจำตัวสัตว์) และให้การรับรองว่า:

1. ประเทศไทยปลอดจากโรค Contagious Bovine Pleuropneumonia เป็นเวลา 12 เดือน ก่อนถึงวันส่งออก และยังไม่มีรายงานการเกิดโรค Bovine Spongiform Encephalopathy (โรคสมองอักเสบในโค) ในประเทศไทย 

2. สัตว์ต้องถูกเลี้ยงในประเทศไทยตั้งแต่แรกเกิด หรือในช่วง 60 วัน ในตำบลที่ไม่มีรายงานการเกิด LSD ก่อนส่งออก

3. สัตว์ได้รับการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาโรคใช้ค่าความชุกที่ 10% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (มากที่สุด 34 ตัวอย่าง) โดยให้ผลเป็นลบต่อโรคลัมปีสกิน ภายใน 1 เดือนก่อนการส่งออก

4. สัตว์ต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค LSD ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ในช่วงระหว่าง 60 วันถึง1 ปี ก่อนเข้ากัก

5. สัตว์มีถิ่นกำเนิดและเลี้ยงหรือเกิดในจังหวัดที่ปลอดโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ในช่วง 6 เดือนก่อนส่งออก  หรือ ไม่มีรายงานการเกิดโรค FMD ในรัศมี 10 กม. ของฟาร์มเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการส่งออก หรือ สัตว์ที่ส่งออกจะต้องตรวจไม่พบหลักฐานการติดเชื้อ FMD รายตัว ในวันที่ 7 ณ สถานที่กักก่อนการส่งออก

6. สัตว์ต้องมาจากฝูงและมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ซึ่งได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอโดยกรมปศุสัตว์ และปลอดจากโรค Brucellosis ,Tuberculosis, Johne’s disease เป็นเวลา 6 เดือน จนถึงวันส่งออก

7. สัตว์ได้รับการถ่ายพยาธิทั้งภายนอกและภายในด้วยยาถ่ายพยาธิที่ออกฤทธิ์ในวงกว้างตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต และไม่มีอาการทางคลินิคและไม่พบพยาธิภายนอก ก่อนการส่งออก

8. ประเทศไทยห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง

BF0CC80A 6A47 4478 9D10 08F0858E3F44 scaled

ช่วงการกักในประเทศไทยก่อนการส่งออก (Pre export Quarantine in Thailand)

1. สัตว์ทั้งหมดที่ถูกส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียต้องถูกกักกันเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา 28 วัน ณ สถานกักกันที่ได้รับการรับรองโดยกรมปศุสัตว์และคอกกักของด่านกักกันสัตว์ กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์ พร้อมทั้งขั้นตอนดังนี้

A. สังเกตอาการทางคลินิคของโรค FMD และโรคติดเชื้ออื่นๆ

B. ฉีดวัคซีนป้องกันโรค FMD ด้วยวัคซีนชนิด 3 type (Trivalent vaccine O, A, Asia 1) เข็มที่ 1 ณ สถานกักกันที่ได้รับการรับรองโดยกรมปศุสัตว์ก่อนส่งออกไปมาเลเซีย

C. ฉีดวัคซีนป้องกันโรค FMD ด้วยวัคซีนชนิด 3 type (Trivalent vaccine O, A, Asia 1) เข็มที่ 2 ณ สถานกักกันที่ได้รับการรับรองโดยกรมปศุสัตว์ก่อนส่งออกไปมาเลเซีย

D. ต้องมีบันทึกสั่งกักและรายงานการกักกันโรคของกรมปศุสัตว์ทุกครั้งก่อนการส่งออกโคกระบือไปยังประเทศมาเลเซีย

2. สัตว์ได้รับการรักษาภายใต้โปรแกรมควบคุมแมลงพาหะด้วยสารสังเคราะห์กลุ่มไพรีทรอยด์ 7 วัน ก่อนส่งออกไปยังมาเลเซีย

3. สัตว์ไม่แสดงอาการทางคลินิกของโรค LSDในวันที่ส่งออก

4. ต้องมีรายงานการกักกันสัตว์ที่ออกโดยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ผู้มีอำนาจของกรมปศุสัตว์ DLD ที่ดูแลศูนย์กักกัน/ฟาร์มที่ได้รับอนุมัติสำหรับการส่งออกโคกระบือมีชีวิตไปยังประเทศมาเลเซีย โดยต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้ :

4.1 วันที่เข้ากัก (Date of entry)

4.2 หมายเลขประจำตัวสัตว์ (Identification no of animal)

4.3 วันที่ฉีดวัคซีน FMD เข็มที่1 และเข็มที่ 2 (Date of vaccination for PI and P2)

4.4 วันที่ฉีดวัคซีน LSD (Date of vaccination for LSD)

4.5 ข้อมูลการรักษา (ถ้ามี) (Information on treatment (if any))

4.6 วันที่ออก (Date of discharge)

4.7 ชื่อและตราประทับอย่างเป็นทางการของสัตวแพทย์ผู้รับผิดชอบ (Name and official stamp of Veterinary Medical Doctor in charge.)

9AC0469B 107A 421C B303 91F2B31B9283

5. การขนส่งสัตว์ Transportation and Landing

การขนส่งสัตว์จะต้องดำเนินการด้วยยานพาหนะที่เหมาะสมโดยตรงไปยังสถานที่ที่กำหนดในประเทศมาเลเซีย

6. เมื่อสัตว์ไปถึงมาเลเซีย Arrival in Malaysia

6.1. เมื่อสัตว์มาถึงด่านกักกันสัตว์ของมาเลเซียจะถูกตรวจสอบโดยด่านฯท่าเข้าและส่งไปกักกันเพื่อสังเกตอาการ ณ สถานกักที่ได้รับรองของมาเลเซียบริเวณชายแดน

6.2. สัตว์ที่มาถึงท่าเข้าจะต้องมีใบรับรองสุขภาพสัตว ใบรายงานการกัก ที่ออกโดยกรมปศุสัตว์ (DLD) ใบอนุญาตให้นำเข้า (Import permit) ที่ออกโดย MAQIS

7. การจองคอกกัก Booking of quarantine

ผู้นำเข้าหรือตัวแทนผู้นำเข้าต้องจองคอกกักของ MAQIS หรือคอกกักที่ได้รับการรับรอง โดยให้ระบุจำนวนสัตว์ที่จะนำเข้าและวันที่จะนำเข้าเบื้องต้น ก่อนการนำเข้าสัตว์ ผู้นำเข้าจะต้องให้คำมั่นว่าจะนำเข้าหรือนำเข้าสัตว์เฉพาะที่มีการจองคอกกักเท่านั้น

8. การกักกันสัตว์ในมาเลเซีย Quarantine in Malaysia

8.1 สัตว์ทั้งหมดจะต้องถูกกักกันเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันที่คอกกักกันของ MAQIS หรือคอกกักที่ได้รับการรับรอง

8.2 สัตว์ทั้งหมดจะถูกปล่อยในวันที่ 15 ของการกัก หากพบว่ามีสุขภาพแข็งแรงและปลอดจากโรคติดเชื้อหรือโรคติดต่อใดๆ (อาจขยายระยะเวลากักกันหากเห็นว่าจำเป็น)

8.3 ใบรับรองการปล่อยหลังการกัก (MKIO) จะออกโดย MAQIS

8.4 หลังจากกักกันสัตว์จะต้องเคลื่อนย้ายด้วยยานพาหนะที่ปิดสนิทจากคอกกัก

8.5 ไปยังโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรอง เพื่อการฆ่าทันที หรือไปยังลานจอดหรือโรงฆ่าที่ได้ขึ้นทะเบียนจากกรมสัตวแพทย์บริการของมาเลเซีย (DVS) ภายใน 30 วัน กรณีที่ล่าช้า

9. กรณีระงับการนำเข้า Suspension of Import อธิบดีกรมสัตวแพทย์บริการของมาเลเซีย (DVS) สามารถระงับการนำเข้าเมื่อใดก็ได้ที่เห็นว่ามีความจำเป็นการระงับการนำเข้าโคกระบือมีชีวิตจากประเทศไทยทั้งแบบชั่วคราวหรือถาวร ในกรณีที่มีการระบาดของโรคหรือสงสัยว่ามีการระบาดของโรคหรือในกรณีที่นำเข้าโดยฝ่าฝืนข้อกำหนดข้างต้น

10. สิทธิในการแก้ไขข้อกำหนดการนำเข้า (Right to Amend Import Requirements.) อธิบดีกรมสัตวแพทย์บริการของมาเลเซีย (DVS)  ขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขข้อกำหนดข้างต้นได้ตลอดเวลาตามที่เห็นสมควร

617592ED 435F 45C8 9F65 74A37BA65E27