กรมวิชาการเกษตร สัมมนาร่วมกับ กระทรวงเกษตรสหรัฐ (USDA)ดึงเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ Gene Editing (GEd) ที่มีความปลอดภัยสูงและไม่ใช่การตัดต่อข้ามสายพันธุ์เหมือน GMOs เพื่อความมั่นคงทางการเกษตร และอาหารที่ปลอดภัยสูง

DSC 5841 1
ระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร สัมมนาร่วมกับ   ดร. อดัม คอร์นิช (Dr. Adam Cornish) ที่ปรึกษาด้านการเกษตร สำนักงานนโยบายการเกษตร กองเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางธุรกิจ กระทรวงการต่างประเทศ และ คุณเคลลี่ สแตงก์ (Ms. Kelley Stange) ที่ปรึกษาเอกอัครราชทูตฝ่ายการเกษตร ประจำสถานฑูตอเมริกาแห่งประเทศไทย ในประเด็น “ความเข้าใจกฎระเบียบการควบคุมเทคโนโลยี Gene Editing”

         

DSC 5809
เคลลี่ สแตงก์ ที่ปรึกษาเอกอัครราชทูตฝ่ายการเกษตร ประจำสถานฑูตอเมริกาแห่งประเทศไทย

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า “ตามที่ ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยการยกระดับรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยี และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (Modern biotechnology) รวมถึงประเด็น การปรับแก้ยีน หรือ Gene editing  (GEd) ที่มีความปลอดภัยสูง และไม่ใช่การตัดต่อข้ามสายพันธุ์เหมือน GMOs

DSC 5791
เคลลี่ สแตงก์ ที่ปรึกษาเอกอัครราชทูตฝ่ายการเกษตร ประจำสถานฑูตอเมริกาแห่งประเทศไทย

การปรับแก้พันธุกรรมพืช ด้วยเทคโนโลยี GEd โดยใช้พันธุกรรมที่มาจากพืชที่สามารถผสมกันเองในธรรมชาติ ทำให้การปรับปรุงพันธุ์พืชมีความแม่นยำ ลดเวลาที่ต้องเคยใช้เพื่อคัดหาพันธุ์ใหม่ลง ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์พืชที่มีความแข็งแรง ผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้านทานต่อโรคและแมลง ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และมีโภชนาการที่เพิ่มขึ้นได้รวดเร็วทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความต้องการอาหารจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น  

DSC 5821
สัมมนาปรับแก้พันธุกรรมพืช ด้วยเทคโนโลยี GEd

รมว.เกษตรได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีดังกล่าว จึงมอบหมายให้ กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ จัดงานสัมมนา วิชาการ “เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในการแก้ปัญหาภาวะวิกฤตโลกเดือด และศัตรูพืชอุบัติใหม่” ในวันที่ 29 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร บางเขน ซึ่งงานดังกล่าวจะเป็นการสัมมนาระดมสมอง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัย ให้ทัดเทียมนานาประเทศ จัดทำแนวทางดำเนินงานและการขัยเคลื่อนเทคโนโลยี GEd ของประเทศไทย และสื่อสารกับประชาชนและผู้บริโภคให้เป็นที่เข้าใจ ถึงความปลอดภัยของเทคโนโลยี ที่แตกต่างจาก GMOs เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี GEd ในประเทศ เตรียมพร้อมรองรับภาวะวิกฤตโลกเดือดและศัตรูพืชอุบัติใหม่

DSC 5829
สัมมนาปรับแก้พันธุกรรมพืช ด้วยเทคโนโลยี GEd

นอกจากนี้ ดร. อดัม คอร์นิช  กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยี GEd ปรับแก้พันธุกรรมจากกลุ่มพืชที่สามารถผสมกันเองตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรค ทนแล้ง หรือใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นข้อท้าทายอย่างยิ่งของภาคการเกษตร ตลอดจนการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ในปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ของโลกได้ลงทุนงานวิจัยและอนุมัติใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี GEd อาทิ แคนาดา อเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ชิลี ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ ฟิลิปปินส์ เคนยา รัสเซีย ออสเตรเลีย ต่างให้การยอมรับเทคโนโลยี GEd ทั้งในเชิงการค้า และการบริโภคเช่นเดียวกับพืชปกติทั่วไป เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

DSC 5820
สัมมนาปรับแก้พันธุกรรมพืช ด้วยเทคโนโลยี GEd

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า การสร้างการรับรู้ และความเข้าใจ การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยี GEd อย่างถูกต้อง เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็น และควรหาจุดยืนสำหรับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง ภายใต้สถานการณ์ของโลกที่ประสบกับปัญหาวิกฤต การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว การแพร่ระบาดของศัตรูพืชอุบัติใหม่ ที่สร้างความเสียหายภาคการเกษตร เพื่อส่งเสริม และยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย มูลค่าสูง ของประเทศไทย และขอขอบคุณ USDA อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตรอเมริกาประจำประเทศไทย ที่ร่วมเสวนาและแลกเปลี่ยนความรู้การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง ในวันนี้

DSC 5862
สัมมนาปรับแก้พันธุกรรมพืช ด้วยเทคโนโลยี GEd
5867
สัมมนาปรับแก้พันธุกรรมพืช ด้วยเทคโนโลยี GEd