“ปศุสัตว์”โชว์มาตรการคุม”โรค ASFในหมู”เยี่ยมยอดในอาเซียน “ฟิลิปปินส์”ขอดูงานนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศ
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายนายสัตวแพทย์ วัชรพล โชติยะปุตตะ ผู้อำนวยการกองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ เป็นผู้แทนฝ่ายแทนในการประชุมหารือกับคณะเจ้าหน้าที่จาก Department of Agriculture; DA (กระทรวงเกษตร) แห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จำนวน 12 คน นำโดย Dr. Ruth Sonaco, Director of National Livestock Program (NLP)
พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ ได้แก่ Bureau of Animal Industry (BAI), Philippines Carabao Center (PCC), National Meat Inspector Service (NMIS), National Dairy Authority (NDA), Batangas Egg Producer Cooperatives (BEPCO) และ Ms. Annalyn Lopez; Agricultural Attache; ทูตเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นประสบการณ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ของประเทศไทย
สืบเนื่องจากรายงานการระบาดของโรค ASF ในสุกรที่มีการระบาดทั่วโลกและในประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบของประเทศไทย กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการมีมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกมิติ
มีการบังคับใช้กฎหมาย การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง การยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายประสานงานบูรณาการร่วมมือทุกหน่วยงาน จนสามารถควบคุมป้องกันโรคได้อย่างดีเยี่ยมสามารถป้องกันโรคได้นานถึง 2 ปี และเมื่อมีรายงานพบโรคสามารถควบคุมโรคได้อย่างทันที จนผลสำเร็จ
ปัจจุบันสถานการณ์โรคสงบ ไม่พบการรายงานการเกิดโรคแล้ว (ZERO REPORT) ในประเทศไทย ทางฟิลิปปินส์ได้สอบถามถึงนโยบายและแนวทางควบคุม ป้องกันและเฝ้าระวังโรค ASF ในประเทศไทย เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับมาตรการในประเทศ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคของฟิลิปปินส์
นอกจากนี้ได้สอบถามถึงการทำวัคซีนป้องกันโรค ASF ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างขั้นตอนการพัฒนาและศึกษาการผลิตวัคซีน เพื่อนำไปเป็นต้นแบบของภูมิภาคในอาเซียนต่อไป
กรมปศุสัตว์จะดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง เป็นประเทศผู้นำในการควบคุมโรคในภูมิภาคอาเซียนและพร้อมยินดีร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน และจะดำเนินการเพื่อขอคืนสถานะสภาพปลอดโรค ASF จากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) ต่อไป
ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือwww.dld.go.th หรือแอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา24 ชั่วโมง