กรมชลประทานชี้น้ำหลากภาคใต้เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เดินหน้าเก็บกักน้ำสำรองใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B1 2
กรมชลฯเดินหน้าเก็บกักน้ำสำรองใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

สำหรับสถานการณ์น้ำปัจจุบัน (14 ธ.ค. 66) พบว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 60,473 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ79  ของความจุอ่างฯรวมกัน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 18,060 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างฯรวมกัน กรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ตามปริมาณน้ำต้นทุนที่มี ด้วยการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก  รักษาระบบนิเวศ  การเกษตร อุตสหกรรม และสำรองไว้ใช้ในต้นฤดูฝนหน้าตามลำดับ จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศไปแล้วกว่า 4,668 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 22  ของแผนฯ  เฉพาะลุ่มเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 1,088 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 18  ของแผนฯ   ภาพรวมการบริหารจัดการน้ำ ยังคงเป็นไปตามแผนที่วางไว้  ด้านสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำสายหลัก ยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุม แต่ในช่วงกลางเดือนนี้ จะมีภาวะน้ำทะเลหนุนสูง ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B2 2
กรมชลฯเดินหน้าเก็บกักน้ำสำรองใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

สำหรับพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่ประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ประกอบกับปริมาณฝนจะเริ่มลดลงและใกล้เข้าสู่ฤดูแล้งของภาคใต้  จึงได้เน้นย้ำให้โครงการชลประทานในพื้นที่บริหารจัดการน้ำควบคู่ไปกับการเก็บกัก เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งให้ได้มากที่สุด พร้อมปฏิบัติตาม 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) เห็นชอบอย่างเคร่งครัด  ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์ถึงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพียงพอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งนี้

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%9B3 2
กรมชลฯเดินหน้าเก็บกักน้ำสำรองใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด